มาตรฐานมงกุฎไทยนี้ จะมอบให้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่ได้คะแนนประเมินดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามเกณฑ์ดังนี้
1. การสมัครขอรับมาตรฐานมงกุฎไทย
โครงการที่เสนอขอรับการรับรองเป็นกลไกการพัฒนาที่สะอาด จะถูกประเมินตามขั้นตอนการพิจารณาโครงการ และจะพิจารณาเกณฑ์การมอบมาตรฐานมงกุฎไทยร่วมด้วย ส่วนโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่ผ่านการรับรองแล้ว (ก่อน 1 ธันวาคม 2552) สามารถสมัครขอรับมาตรฐานมงกุฎไทยได้ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด
2. การอนุมัติให้มาตรฐานมงกุฎไทย
การพิจารณาให้มาตรฐานมงกุฎไทย จะกระทำควบคู่ไปกับการพิจารณารับรองโครงการฯ ซึ่งเมื่อโครงการผ่านเกณฑ์คะแนนประเมินดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าวข้างต้น อบก. จะติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของโครงการฯ เพื่อให้แน่ใจว่าโครงการที่สมัครขอรับมาตรฐานมงกุฎไทยนั้น มีการดำเนินงานจริงตามที่เสนอไว้ในเอกสารประกอบโครงการ
3. อายุของมาตรฐานมงกุฎไทยและการควบคุมมาตรฐาน
มาตรฐานมงกุฎไทย มีอายุ 3 ปี โดย อบก. สามารถยกเลิกได้ หากตรวจสอบพบว่าโครงการขาดคุณสมบัติตามเงื่อนไข นอกจากนั้น โครงการที่ได้รับมาตรฐานมงกุฏไทยจะถูกติดตามตรวจสอบจากเครือข่ายของ อบก. ตลอดอายุโครงการ เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่ได้รับมาตรฐานมงกุฎไทย มีการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งชุมชนได้รับประโยชน์สูงสุด ตามข้อกำหนดของมาตรฐานมงกุฎไทย
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)(อบก.) ได้พัฒนา "มาตรฐานมงกุฎไทย" สำหรับโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM Project) เพื่อให้เป็นมาตรฐานแสดงคุณภาพโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดของประเทศไทย ให้เทียบเท่ามาตรฐานระดับสากล ควบคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายทั้งผู้พัฒนาโครงการ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นการผลักดันให้คาร์บอนเครดิตจากโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกและมีมูลค่าสูงขึ้น
ในช่วงปี 2552 ที่ผ่านมา อบก. ได้ติดต่อประสานกับมูลนิธิมาตรฐานทองคำ (Gold Standard Foundation) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดระดับสากลให้ศึกษากลไกการรับรองโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดของประเทศไทย ซึ่งมูลนิธิมาตรฐานทองคำได้ให้การยอมรับว่าการให้การรับรองโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดในประเทศไทย มีความน่าเชื่อถือและได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งเป็นหลักการสำคัญของโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดตามหลักสากล ดังนั้น "มาตรฐานมงกุฎไทย" จึงเป็นที่ยอมรับของ Gold Standard Foundation ด้วย โดย อบก. ได้รับการรับรองให้เป็นองค์กรผู้มีอำนาจตามพิธีสารเกียวโต (Designated National Authority: DNA) รายแรกของโปรแกรม Gold Standard Foundation's DNA Program จนบรรลุข้อตกลงและลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง อบก. และมูลนิธิมาตรฐานทองคำ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้ มาตรฐานมงกุฎไทยเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในระดับสากล อันจะส่งผลให้คาร์บอนเครดิตของโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดของประเทศไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นผ่านกลไกและภาพลักษณ์ของ Gold Standard
การดำเนินการให้ได้รับการรับรอง มาตรฐานมงกุฎไทย ก็เป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ดำเนินทุกขั้นตอนตามแนวทางการยื่นขอคำรับรองโครงการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด LoA ตามปรกติ ไม่ได้มีใบสมัครแยกต่างหากแต่อย่างใด เพียงแค่ดำเนินการยื่นคำขอให้ได้คะแนนในหมวดดัชนีทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และคะแนนรวมจากเกณฑ์การพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมดตั้งแต่ 50% ขึ้นไป และการดำเนินการมีการคำนึงถึงการมีส่วนร่วม การสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาสังคม รวมไปจนถึงสุขภาพอนามัยของประชาชนและชุมชนโดยรอบ เพียงเท่านี้ก็จะผ่านเกณฑ์การให้คำรับรองมาตรฐานมงกุฎไทยซึ่งจะส่งผลดีเป็นอย่างมากต่อภาพลักษณ์โครงการ เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มโอกาสการขอรับมาตรฐานทองคำได้ง่ายขึ้น ในระยะเวลาที่สั้นกว่า ค่าธรรมเนียมที่อาจจะลดลง แต่ยังเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อโครงการ ที่ตรงตามมาตรฐาน ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ตามเกณฑ์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการยกระดับมาตรฐานการดำเนินโครงการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด CDM ซึ่งในอนาคตอาจจะเป็นมาตรฐานเฉพาะสำหรับโครงการ CDM ที่สามารถเทียบเคียงได้กับมาตรฐาน ISO ที่ควบคุมคุณภาพการจัดการและคุณภาพสิ่งแวดล้อมขององค์กรหรือโรงงานที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน
โครงการที่ได้รับคำรับรอง “มาตรฐานมงกุฎไทย” ดังต่อไปนี้หากประสงค์จะต่ออายุคำรับรองมาตรฐานมงกุฎไทยจะต้องยื่นเอกสารเพื่อขอต่ออายุคำรับรองมาตรฐานมงกุฎไทย ภายในระยะเวลา 3 เดือนก่อนจะครบกำหนดคำรับรองมาตรฐานมงกุฎไทย หรือภายในระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ระเบียบนี้บังคับใช้
เอกสารประกอบการต่ออายุมาตรฐานมงกุฎไทย
โดยโครงการที่ คกก.อบก. จะพิจารณาการต่ออายุคำรับรองมาตรฐานมงกุฎไทยต้องเป็นโครงการที่ได้รับ คำรับรองว่าเป็นโครงการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาดและได้รับมาตรฐานมงกุฎไทยมี คุณสมบัติ ดังนี้
อบก. จะตรวจสอบโครงการที่ยื่นคำขอ เพื่อต่ออายุคำรับรองมาตรฐานมงกุฎไทยตามดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน และประสานงานขอข้อมูลเพิ่มเติมจากโครงการหากเอกสาร หลักฐานไม่ครบถ้วน เมื่อเอกสารถูกต้องครบถ้วนแล้วนำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
มาตรฐานมงกุฎไทยขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน : อบก.) ได้รับการรับรองให้เป็นหนึ่งใน VCUs (Verified Carbon Units) tag จาก Verified Carbon Standard (VCS) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ให้การรับรองมาตรฐานคาร์บอนภาคสมัครใจ การติด tag ดังกล่าวช่วยเพิ่มความน่าสนใจหรือมูลค่าให้กับ VCUs ซึ่งเป็นหน่วยนับของคาร์บอนเครดิตที่ได้จากโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ VCS ผู้พัฒนาโครงการต้องยื่นขอมาตรฐานมงกุฎไทยก่อนขอรับการรับรอง VCUs โดยเสนอรายงาน IEE-SD และ VCS project descriptions ของโครงการ จำนวน 1 ชุด มายัง อบก. เพื่อขอรับการพิจารณาให้การรับรองมาตรฐานมงกุฎไทย โดยขั้นตอนการพิจารณาจะเหมือนกับการพิจารณาให้คำรับรองโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดแต่ไม่มีการส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความเห็น (รายละเอียดขั้นตอนการรับรอง ศึกษาเพิ่มเติมจากหัวข้อ ขั้นตอนการพิจารณาให้คำรับรอง)
Q1 โครงการที่จะได้รับมาตรฐานมงกุฎไทยจะต้องมีคุณสมบัติเช่นไร
A1 : การพิจารณามอบมาตรฐานมาตรฐานมงกุฏไทยนี้ จะพิจารณาจากโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด ที่ได้คะแนนประเมินดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเกณฑ์ดังนี้
1. คะแนนรวมจากเกณฑ์การพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป
2. คะแนนในหมวดดัชนีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป
3. คะแนนด้านการมีส่วนร่วมชองประขาขนในลักษณะของการจัดให้มีการส่วนร่วม หรือการจัดให้มีคณะกรรมการพหุพาคี ได้คะแนน +1 ขึ้นไป
4. คะแนนด้านการสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้คะแนน +1 ขึ้นไป หรือคะแนนด้านสุขภาพอนามัยของคนงานและชุมชนข้างเคียง ได้คะแนน +2
Q2 ผู้ที่สนใจจะสมัครขอรับมาตรฐานมงกุฎไทยได้อย่างไร
A2 : โครงการที่เสนอขอรับการรับรองเป็นกลไกการพัฒนาที่สะอาด จะได้รับการประเมินตามขั้นตอนการพิจารณาโครงการ และจะพิจารณาเกณฑ์การมอบมาตรฐานมงกุฎไทยร่วมด้วย ส่วนโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่ผ่านการรับรองแล้ว (ก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2552) สามารถสมัครขอรับมาตรฐานมงกุฎไทยได้ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด
Q3 โครงการที่ได้รับมาตรฐานมงกุฏไทยจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
A3 : โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่ได้รับมาตรฐานมงกุฎไทย จะช่วยผลักดันให้คาร์บอนเครดิตจากโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกและมีมูลค่าสูงขึ้น ตลอดจนจะขอรับมาตรฐานทองคำได้ง่ายขึ้น ใช้ระยะเวลาพิจารณารับรองที่สั้นกว่า และอาจมีค่าธรรมเนียมในการรับรองมาตรฐานทองคำต่ำลงด้วย