facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list

JCM

 

JCM

เกี่ยวกับ JCM

1. JCM คือ

กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism) เรียกโดยย่อว่า JCM เป็นกลไกแบบทวิภาคีที่ประเทศญี่ปุ่นได้ริเริ่มขึ้นเพื่อช่วยให้ประเทศที่มีความร่วมมือสามารถใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำในการทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกโดยการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น กลไก JCM บริหารงานโดยคณะกรรมการร่วม (Joint committee) ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศที่มีความร่วมมือ การทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกต้องมีการตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบ (Measurement, Reporting and Verification: MRV) เพื่อให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้มีความน่าเชื่อถือ คณะกรรมการร่วมเป็นผู้ให้การรับรองระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจก (methodology) ซึ่งใช้ในการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ ขึ้นทะเบียนและให้การรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่โครงการลดได้ หรือที่เรียกว่า คาร์บอนเครดิต ทั้งนี้ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ที่ผ่านการรับรองแล้วสามารถนำไปใช้ในการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)

2. ลักษณะ/ประเภทของโครงการ JCM

  • พลังงานหมุนเวียน
  • การขนส่ง
  • ประสิทธิภาพพลังงาน
  • การจัดการของเสีย

3. การดำเนินการในประเทศไทย

(ข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559)

ประเทศไทยได้ลงนามความร่วมมือทวิภาคี JCM กับประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 นับเป็นประเทศที่ 16 โดยประเทศที่ได้ลงนามความร่วมมือฯ แล้ว ได้แก่ ประเทศมองโกเลีย บังกลาเทศ เอธิโอเปีย เคนยา มัลดีฟส์ เวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย คอสตาริกา ปาเลา กัมพูชา เม็กซิโก ซาอุดีอาระเบีย ชิลี เมียนมา

พิธีลงนามความร่วมมือทวิภาคี JCM
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558
ณ กระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่น กรุงโตเกียว

ระหว่าง พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กับ H.E. Ms. Tamayo Marukawa
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2559 ได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมกลไก JCM ครั้งที่ 1 ณ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกฎกติกา แนวทาง รวมทั้งแบบฟอร์มที่จะใช้ในการดำเนินงานภายใต้กลไก JCM

4. คณะกรรมการร่วม

องค์ประกอบคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ฝ่ายไทย มีดังนี้
1) รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับมอบหมาย ประธานกรรมการร่วม
2) อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือผู้แทน กรรมการร่วม
3) อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือผู้แทน กรรมการร่วม
4) อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ หรือผู้แทน กรรมการร่วม
5) เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน กรรมการร่วม
6) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการร่วม
7) ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กรรมการร่วมและเลขานุการ





องค์ประกอบคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ฝ่ายญี่ปุ่น มีดังนี้
1) ผู้แทน Embassy of Japan ประธานกรรมการร่วม
2) ผู้แทน Embassy of Japan กรรมการร่วม
3) ผู้แทน Ministry of Foreign Affairs กรรมการร่วม
4) ผู้แทน Ministry of Economy, Trade and Industry กรรมการร่วม
5) ผู้แทน Ministry of the Environment กรรมการร่วม
6) ผู้แทน Embassy of Japan กรรมการร่วมและเลขานุการ

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ JCM

การพัฒนาโครงการ JCM ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก ได้แก่ การขอรับทุนสนับสนุน และการพัฒนาโครงการ JCM ผู้พัฒนาโครงการต้องได้รับการอนุมัติทุนสนับสนุนก่อนจึงสามารถเริ่มก่อสร้างและดำเนินการ และพัฒนาโครงการ JCM ได้ แต่ละขั้นตอน มีรายละเอียด ดังนี้

1. การขอรับทุนสนับสนุน

ผู้พัฒนาโครงการฝ่ายไทยต้องคัดเลือกเทคโนโลยีที่สนใจจะใช้ในการดำเนินโครงการ และคัดเลือกนิติบุคคลของญี่ปุ่นซึ่งจะร่วมดำเนินโครงการพัฒนาแผนการเงิน และข้อตกลงร่วมกัน โดยให้ผู้พัฒนาโครงการฝ่ายญี่ปุ่นเป็นผู้ยื่นขอรับทุนสนับสนุนการพัฒนาโครงการ JCM ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นจะพิจารณาให้งบสนับสนุนการลงทุนบางส่วน (Partial capital fund) สูงสุดไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินลงทุนที่โครงการใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์/เครื่องจักรหลัก โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ที่ผ่านการรับรองหรือคาร์บอนเครดิตจะถูกโอนให้แก่รัฐบาลญี่ปุ่นตามสัดส่วนที่คณะกรรมการร่วมเห็นชอบ เพื่อเป็นสิ่งตอบแทนสำหรับการให้เงินสนับสนุนดังกล่าว

การขอรับการสนับสนุนทางการเงินมีขั้นตอนการดำเนินการแตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละแหล่งทุน การตัดสินใจให้ทุนไม่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการร่วมฝ่ายไทยโดยตรง แต่แหล่งทุนอาจขอความเห็นจากคณะกรรมการร่วมฝ่ายไทย สรุปรายละเอียดแหล่งทุนได้ ดังนี้

กระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น (Ministry of Environment: MOE) MoE ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนา JCM model project โดยให้ Global Environmental Centre Foundation (GEC) ทำหน้าที่บริหารจัดการแทน การขอรับทุนนี้ ผู้พัฒนาโครงการฝ่ายไทยต้องทำความร่วมมือกับนิติบุคคลฝ่ายญี่ปุ่นเป็นกิจกรรมร่วมค้าระหว่างประเทศ (international consortium) และยื่นใบสมัครขอรับการสนับสนุนทางการเงินในนามกิจกรรมร่วมค้าระหว่างประเทศ โดยมีนิติบุคคลของญี่ปุ่นเป็นผู้กระทำการแทนนิติบุคคล (เรียกนิติบุคคลไทยว่าผู้ร่วมโครงการ) เมื่อทราบผลการพิจารณาให้การสนับสนุนทางการเงินจึงเริ่มก่อสร้างโครงการ/ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องจักร โดย MoE จะส่งมอบเงินสนับสนุนตามสัญญาเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินโครงการแล้ว ปัจจุบัน มีโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก MoE แล้วทั้งหมดจำนวน 7 โครงการ MoE มีกำหนดการเปิดรับใบสมัครขอรับทุนครั้งต่อไป ระหว่างวันที่ 8 เมษายน 2559 ถึง วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 และประกาศผลในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2559 โดยมีวงเงินงบประมาณในปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2561 เท่ากับ 6.7 พันล้านเยน ท่านสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับการขอรับทุนสนับสนุน ได้ที่ http://gec.jp/jcm

กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry: METI) ให้ทุนในการพัฒนา JCM demonstration project บริหารจัดการโดย New Energy and Industrial Technology Development Organization (NEDO) โครงการที่เข้าข่ายจะได้รับทุนจาก METI ต้องเป็นโครงการที่เป็นนวตกรรมหรือเป็นโครงการที่มีการใช้เทคโนโลยีใหม่เป็นรายแรก (first of its kind) การขอรับทุนนี้ ผู้พัฒนาโครงการฝ่ายไทยต้องจัดทำข้อตกลงกับนิติบุคคลฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งจะร่วมดำเนินโครงการโดยอ้างอิงบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ระหว่าง NEDO กับประเทศไทย และยื่นใบสมัครขอขึ้นทะเบียนโครงการในนามกิจกรรมร่วมค้าระหว่างประเทศ โดยมีนิติบุคคลของญี่ปุ่นเป็นผู้กระทำการแทนนิติบุคคล (เรียกนิติบุคคลไทยว่าผู้ร่วมโครงการ)

ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) (JFJCM: Japan Fund for JCM) ให้การสนับสนุนทางการเงินในรูปเงินกู้ ผู้ที่ยื่นสมัครขอรับการสนับสนุนทางการเงินจะเป็นฝ่ายไทยหรือญี่ปุ่นก็ได้

นอกจากการให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อติดตั้งอุปกรณ์/เครื่องจักรแล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นยังให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างที่ปรึกษาและผู้ประเมินภายนอก (TPE) เพื่อช่วยในการพัฒนาโครงการ JCM อีกด้วย

2. การพัฒนาโครงการ JCM

การขอขึ้นทะเบียนโครงการและขอการรับรองปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก
การพัฒนาโครงการ JCM มีขั้นตอนการดำเนินงานมีลักษณะเช่นเดียวกับ CDM ทั้งการพัฒนาระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจกที่จะใช้ในการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินโครงการ JCM แต่ละประเภท (methodology) การพัฒนาเอกสารข้อเสนอโครงการ (Project Design Document: PDD) การตรวจสอบโครงการ (validation) การขึ้นทะเบียนโครงการ (registration) การติดตามการลดก๊าซเรือนกระจก (monitoring) และการจัดทำรายงาน การทวนสอบความถูกต้องของรายงานผลการติดตามการลดก๊าซเรือนกระจก (verification) และการออกคาร์บอนเครดิต (issuance) คณะกรรมการร่วมฝ่ายไทยมีบทบาทโดยตรงในการพิจารณาขึ้นทะเบียนโครงการและให้การรับรองปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก สรุปรายละเอียดการพัฒนาโครงการได้ ดังนี้

การพัฒนาเอกสารข้อเสนอโครงการ (Project Design Document: PDD) ผู้พัฒนาโครงการต้องจัดเตรียมเอกสารข้อเสนอโครงการตามแนวทางสำหรับการพัฒนาเอกสารข้อเสนอโครงการและแผนการติดตามตามแนวทางที่คณะกรรมการร่วมกำหนด (Guidelines for Developing Project Design Document and Monitoring Report) PDD ประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการ ระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจก (methodology) ที่โครงการใช้ในการคำนวณปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การจัดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ จากนั้นให้จัดส่ง PDD พร้อมกับ modalities of communication statement ไปยังผู้ประเมินภายนอก (Third Party Entity: TPE) และคณะกรรมการร่วม ซึ่ง TPE จะตรวจสอบโครงการ ส่วนสำนักเลขาธิการกลไก JCM จะกำหนดเลขอ้างอิงให้กับโครงการและเผยแพร่ PDD ต่อสาธารณชนทางเว็บไซต์เพื่อรับความคิดเห็นเป็นเวลา 30 วันปฏิทิน

การตรวจสอบโครงการ (Validation) PDD ที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นโครงการ JCM ต้องผ่านการตรวจสอบโดยผู้ประเมินภายนอก (Third Party Entities: TPE) ซึ่งจะทำการตรวจสอบตามแนวทางการตรวจสอบและทวนสอบโครงการ (Guidelines for Validation and Verification) และจัดเตรียมรายงานการตรวจสอบโครงการ (validation report) โดยใช้แบบฟอร์มตามที่คณะกรรมการร่วมกำหนด (Validation Report Form) ระหว่างที่ผู้ประเมินภายนอกดำเนินการตรวจสอบโครงการ สำนักเลขาธิการกลไก JCM จะส่งข้อคิดเห็นที่ได้รับจากสาธารณชนทางเว็บไซต์ให้ผู้ประเมินภายนอกนำไปพิจารณา ประกอบการจัดทำรายงานการตรวจสอบโครงการส่งมอบให้แก่ผู้พัฒนาโครงการ

การขอขึ้นทะเบียนโครงการ (Registration) ผู้พัฒนาโครงการยื่นใบสมัครขอขึ้นทะเบียนโครงการ (Project Registration Request Form) เสนอเอกสารข้อเสนอโครงการ (validated PDD) และรายงานการตรวจสอบโครงการ (validation report) มายังสำนักเลขาธิการกลไก JCM เพื่อขอขึ้นทะเบียนโครงการ สำนักเลขาธิการกลไก JCM จะตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสาร ภายใน 7 วัน ก่อนแจ้งผลให้ผู้พัฒนาโครงการและผู้ประเมินภายนอกทราบ จากนั้นจะเสนอให้คณะกรรมการร่วมพิจารณา และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้พัฒนาโครงการและผู้ประเมินภายนอกทราบ และเผยแพร่ต่อสาธารณชนทางเว็บไซต์

การติดตามการลดก๊าซเรือนกระจก (Monitoring) และการจัดทำรายงาน เมื่อผู้พัฒนาโครงการดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้วจะต้องตรวจวัดตัวแปรตามที่กำหนดไว้ใน PDD ฉบับที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและจัดทำรายงานผลการติดตามการลดก๊าซเรือนกระจก

การทวนสอบความถูกต้องของรายงานผลการติดตามการลดก๊าซเรือนกระจก (Verification) ผู้ประเมินภายนอกทวนสอบความถูกต้องของรายงานผลการติดตามการลดก๊าซเรือนกระจกตามแนวทางการตรวจสอบและทวนสอบโครงการ (Guidelines for Validation and Verification) ทั้งนี้ การตรวจวัดข้อมูลและการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ต้องเป็นไปตามวิธีการที่ระบุไว้ในเอกสารข้อเสนอโครงการ ผู้ประเมินภายนอกจัดทำรายงานการทวนสอบโครงการ (verification report) โดยใช้แบบฟอร์มตามที่คณะกรรมการร่วมกำหนด (Verification Report Form) ส่งมอบให้แก่ผู้พัฒนาโครงการ

การออกคาร์บอนเครดิต (Issuance of credits) ผู้พัฒนาโครงการต้องเปิดบัญชีในระบบทะเบียนของฝ่ายญี่ปุ่นและ/หรือฝ่ายไทยก่อนขอรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก หรือ การออกคาร์บอนเครดิต จากนั้นต้องยื่นใบสมัครขอการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยใช้แบบฟอร์มตามที่คณะกรรมการร่วมกำหนด (Credit Issuance Request Form) ซึ่งระบุการแบ่งสัดส่วนคาร์บอนเครดิตที่เกิดขึ้นจากโครงการระหว่างทั้งสองฝ่าย รายงานผลการติดตามการลดก๊าซเรือนกระจก และรายงานการทวนสอบโครงการ มายังสำนักเลขาธิการกลไก JCM เพื่อขอรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก สำนักเลขาธิการกลไก JCM จะตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสาร ภายใน 7 วัน ก่อนแจ้งผลให้ผู้พัฒนาโครงการและผู้ประเมินภายนอกทราบ จากนั้นจะเสนอให้คณะกรรมการร่วมพิจารณา และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้พัฒนาโครงการและผู้ประเมินภายนอกทราบ รวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลแต่ละฝ่ายให้ดูแลระบบทะเบียน เพื่อให้ดำเนินการออกคาร์บอนเครดิตในบัญชีของผู้พัฒนาโครงการแต่ละฝ่ายในระบบทะเบียน และเผยแพร่ต่อสาธารณชนทางเว็บไซต์

ระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจก

1. ขั้นตอนการพัฒนาระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจก

กรณีที่โครงการยังไม่มีระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจก (methodology) ที่เหมาะสมกับโครงการ ผู้พัฒนาโครงการฝ่ายญี่ปุ่นหรือฝ่ายไทย คณะกรรมการร่วม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย มีสิทธิเสนอระเบียบวิธีฯ ที่พัฒนาขึ้นตามแนวทางพัฒนาระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจก (Guidelines for Developing Proposed Methodology) พร้อมกับ input sheet และ calculation sheet ให้คณะกรรมการร่วมพิจารณารับรองผ่านทางสำนักเลขาธิการกลไก JCM ซึ่งจะตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของร่างระเบียบวิธีฯ ภายใน 7 วันปฏิทิน จากนั้นจะเปิดเผยต่อสาธารณชนทางเว็บไซต์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นอีกจำนวน 15 วันปฏิทิน คณะกรรมการร่วมสรุปผลการพิจารณา โดยใช้เวลาอีกประมาณ 60-90 วันปฏิทิน นับจากวันที่ปิดรับฟังความคิดเห็น ก่อนจะตัดสินใจรับรอง หรือไม่รับรอง ร่างระเบียบวิธีฯ ดังกล่าว และแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบ หลักการพัฒนาระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้กลไก JCM มุ่งเน้นให้ผู้พัฒนาโครงการสามารถดำเนินการตรวจวัดข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ง่าย ขณะที่ผู้ประเมินภายนอกก็สามารถทวนสอบปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกได้ง่ายด้วย โดยให้ใช้ค่า Default value ในการประเมินปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อไม่ให้ค่าสูงเกินความเป็นจริง และยังเป็นการลดภาระในการตรวจวัดข้อมูลด้วย

2. ระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองแล้วของประเทศต่าง ๆ

ปัจจุบันมีระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองแล้วของประเทศต่าง ๆ ทั้งหมด จำนวน 19 ระเบียบวิธี โดยมีรายละเอียด ดังตาราง

No. Country Sectoral Scope Methodology Title GHG Emission Reduction Measures
MN_AM001 Mongolia Energy distribution Installation of energy‐saving transmission lines in the Mongolian Grid Reduction of transmission loss by introduction of LL‐ACSR/SA (Low Electrical Power Loss Aluminum Conductors, Aluminum‐Clad Steel Reinforced).
MN_AM002 Mongolia Energy industries Replacement and Installation of High Efficiency Heat Only Boiler (HOB) for Hot Water Supply Systems Installation of new HOB for hot water supply system and the replacement of existing coal‐ fired HOB. The boiler efficiency of the reference HOB is typically lower than that of the project HOB. Therefore, the project activity leads to the reduction of coal consumption, resulting in lower emission of GHGs as well as air pollutants.
MV_AM001 Maldives Energy industries Displacement of Grid and Captive Genset Electricity by Solar PV System Displacement of grid electricity and/or captive electricity using diesel fuel as a power source by installation and operation of the solar PV system(s).
VN_AM001 Viet Nam Transport Transportation energy efficiency activities by installing digital tachograph systems Improvement of driving efficiency by installation of digital tachograph system to freight vehicle fleets providing to the drivers a real‐time feedback against inefficient driving.
VN_AM002 Viet Nam Energy demand Introduction of Room Air
Conditioners Equipped with
Inverters
Energy saving achieved by introduction of RACs equipped with inverters.
VN_AM003 Viet Nam Energy demand Improving the energy efficiency of commercial buildings by utilization of high efficiency equipment Reduction of electricity and fossil fuel consumed by existing facilities is achieved by replacing or substituting these facilities with high efficiency equipment.
VN_AM004 Viet Nam Waste handling and disposal Anaerobic digestion of organic waste for biogas utilization within wholesale markets Avoid the emissions of methane to the atmosphere from organic waste that have been left to decay anaerobically at a solid waste disposal site and to introduce renewable energy technologies that supply biogas that displaces fossil fuel use.
VN_AM005 Viet Nam Energy distribution Installation of energy efficient transformers in a power distribution grid Installation of energy efficient transformers (transformers with amorphous metal core) in a power distribution grid to reduce no‐load losses by transformers, which leads to reduction of losses for grid electricity
ID_AM001 Indonesia Energy industries Power Recovery Generation in Cement by Industry Waste Heat Waste heat recovery (WHR) system generates electricity through waste heat recovered from cement production facility. Electricity generated from the WHR system replaces grid electricity resulting in GHG emission reductions of the connected grid system.
ID_AM002 Indonesia Energy demand Energy High Efficiency Saving by Centrifugal Introduction Chiller Saving energy by introducing high efficiency centrifugal chiller for the target factory, commerce facilities etc.
ID_AM003 Indonesia Energy demand Installation of Energy‐efficient Refrigerators Using Natural Refrigerant at Food Industry Cold Storage and Frozen Food Processing Plant Saving energy by introducing high efficiency refrigerators to the food industry cold storage and frozen food processing plants.
ID_AM004 Indonesia Energy demand Installation Conditioning of System Inverter for‐Type Cooling Air for Grocery Store Saving energy by introducing inverter‐type air conditioning system for cooling for grocery store.
ID_AM005 Indonesia Energy demand Installation of LED Lighting for Grocery Store Saving energy by introducing LED (Light Emitting Diode) lighting for grocery store.
ID_AM006 Indonesia Energy demand GHG optimization emission of reductions refinery plant through operation in Indonesia Introduction of plant optimization control systems (APC) that reduce energy consumption in the hydrogen production unit (HPU) and hydro cracking unit (HCU) at a refinery plant.
ID_AM007 Indonesia Energy demand GHG optimization emission of reductions boiler operation through in Indonesia The project achieves energy conservation in boilers, through operation optimization by applying Utility Facility Operation Optimization Technology.
ID_AM008 Indonesia Energy demand Installation of a separate type fridge‐freezer show case by using natural refrigerant for grocery store to reduce air conditioning load inside the store Saving total energy of in‐store show case and air conditioning system by introducing a separate type natural refrigerant fridge-freezer show case for grocery store, which leads to GHG emission reductions, through the reduction of air conditioning electricity load demand by not releasing waste heat inside the store.
ID_AM009 Indonesia Energy demand Replacement burners with regenerative of conventional burners for aluminum holding furnaces By replacing conventional burners with regenerative burners for aluminum holding furnaces, consumption of natural gas is reduced, which leads to the reduction of GHG emissions.
ID_AM010 Indonesia Energy demand Introducing modular electric double heat-bundle pumps to a new building The project contributes to GHG emission reductions at a new building, by reducing electricity and oil consumption with efficient double‐bundle modular electric heat pumps where heating/cooling energy is simultaneously generated.
PW_AM001 Palau Energy industries Displacement of Grid and Captive Genset Electricity by a Small‐scale Solar PV System Displacement of grid electricity and/or electricity using diesel fuel as a power source by installation and operation of the solar PV system(s).

สถิติโครงการ JCM

1. การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการในประเทศไทย

กระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น (Ministry of Environment: MoE) กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry: METI) New Energy and Industrial Technology Development Organization (NEDO) ได้ให้ทุนสนับสนุนการการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ JCM ประเภทต่าง ๆ ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2553 ถึงปี 2558 ทั้งหมด จำนวน 25 โครงการ โดยมีรายละเอียด ดังตาราง

ปีงบประมาณ แหล่งทุน ชื่อโครงการ Sector
2553 METI 1. Introduction of CHP facility and privately-owned electrical power facility (FS) การผลิตพลังงานหมุนเวียน
2. Eco-friendly driving using digital tachograph (FS) การขนส่ง
3. Plant production energy optimization by IT technologies (FS) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
2554 NEDO 4. Next-generation (zero-emission) air conditioning system utilizing solar heat (FS) การผลิตพลังงานหมุนเวียน
MOE 5. Waste management activities in Thailand (FS) การจัดการของเสีย
6. Institutional management of MRT network (FS) การขนส่ง
7. Wind power generation in low wind speed condition (FS) การผลิตพลังงานหมุนเวียน
8. Institutional development of building energy management system (BEMS) (FS) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
9. Utilisation of off-peak power from storage batteries & introduction of electric vehicles (FS) การขนส่ง
2555 NEDO 10. Introducing heat recovery heat pumps (FS) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
11. Green convenience stores with high-efficiency equipment in Thailand and Vietnam (FS) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
12. Micro-scale hydro power generation (Thailand and Vietnam) (FS) การผลิตพลังงานหมุนเวียน
13. Energy saving systems at commercial facilities (Thailand, Vietnam and Malaysia) (FS) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
MOE 14. Introduction of electronic gate to international trade port to improve port-related traffic jam (FS) การขนส่ง
2556 NEDO 15. Refrigerant super cooling system (FS) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
METI 16. Energy-saving at industrial complex (FS) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
MOE 17. Heat Recovery to Generate Both Cooling and Heating Energy (FS) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
2557 METI 18. Energy efficiency technologies for steel industry (FS) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
19. Bio-coke technology (FS) การผลิตพลังงานหมุนเวียน
MOE 20. Study on the accelerating implementation of Bangkok Master Plan on climate change (FS) ภาคเมือง
21. Introduction of a recycling system for cars and parts in Thailand (FS) การขนส่ง
22. Strategic promotion of recovery and destruction of fluorocarbons (FS) ก๊าซอุตสาหกรรม
2558 MOE 23. Energy saving by cogeneration project in the fiber factory (FS) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
24. Saving Energy for station facilities utilizing regenerative energy from trains (PS) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
25. Energy saving by introducing power generation and storage system in Skytrain (PS) การขนส่ง

2. โครงการของประเทศไทยที่ได้รับทุน

โครงการของประเทศไทยที่ได้รับทุนสนับสนุนให้พัฒนาเป็นโครงการ JCM Model Project จากกระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น ในปีงบประมาณ 2558 ทั้งหมดจำนวน 7 โครงการ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้รวม 17,293 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (tCO2eq/y)

ลำดับ ชื่อโครงการ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้
(tCO2eq/y)
1 Reducing GHG Emission at Textile Factory by Upgrading to Air-saving Loom 646
2 Introduction of Solar PV System on Factory Rooftop 776
3 Energy Saving at Convenience Stores with High Efficiency Air-Conditioning and Refrigerated Showcase 4,970
4 Energy Saving for Semiconductor Factory with high Efficiency Chiller and Compressor 620
5 Installation of Co-Generation Plant for On-Site Energy Supply in Motorcycle Factory 7,308
6 Saving energy by introducing high-efficiency chillers in Bridgestone factory in Thai 385
7 Installation of High Efficient Air Conditioning System, Chillers in Semiconductor Factory 2,588
Total Expected GHG emission reduction 17,293

3. โครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโครงการ JCM ของประเทศต่าง ๆ

ปัจจุบันมีโครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วทั้งหมด 10 โครงการ เป็นโครงการของประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 5 โครงการ ประเทศมองโกเลียและเวียดนาม ประเทศละ 2 โครงการ และประเทศปาเลา จำนวน 1 โครงการ เป็นโครงการประเภทการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน จำนวน 8 โครงการ โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าและการขนส่ง อย่างละ 1 โครงการ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้รวมทั้งสิ้น 1,912 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี โดยมีรายละเอียด ดังตาราง

วันที่ขึ้นทะเบียน ประเทศเจ้าของโครงการ ชื่อโครงการ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้
(ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี)
ผู้พัฒนาโครงการฝ่ายประเทศเจ้าบ้าน ผู้พัฒนาโครงการฝ่ายประเทศญี่ปุ่น
31 ต.ค. 2557 อินโดนีเซีย Energy Saving for Air-Conditioning and Process Cooling by Introducing High-efficiency Centrifugal Chiller 114 PT. Primatexco Indonesia Nippon Koei Co., Ltd. (Focal Point) และ Ebara Refrigeration Equipment & Systems Co., Ltd.
29 มี.ค. 2558 อินโดนีเซีย Project of Introducing High Efficiency Refrigerator to a Food Industry Cold Storage in Indonesia 120 PT. Adib Global Food Supplies, PT. Mayekawa Indonesia Mayekawa Mfg. Co., Ltd.
29 มี.ค. 2558 อินโดนีเซีย Project of Introducing High Efficiency Refrigerator to a Frozen Food Processing Plant in Indonesia 21 PT. Adib Global Food Supplies, PT. Mayekawa Indonesia Mayekawa Mfg. Co., Ltd.
21 เม.ย. 2558 ปาเลา Small scale solar power plants for commercial facilities in island states 227 Subproject 1: Western Caroline Trading Company, Subproject 2: Surangel and Sons Company Pacific Consultants Co., Ltd. (PCKK), InterAct Inc.
30 มิ.ย. 2558 มองโกเลีย Installation of high-efficiency Heat Only Boilers in 118th School of Ulaanbaatar City Project 92 Anu-Service Co.,Ltd. Suuri-Keikaku Co.,Ltd.
30 มิ.ย. 2558 มองโกเลีย Centralization of heat supply system by installation of high-efficiency Heat Only Boilers in Bornuur soum Project 206 Anu-Service Co.,Ltd. Suuri-Keikaku Co.,Ltd.
4 ส.ค. 2558 เวียดนาม Eco-Driving by Utilizing Digital Tachograph System 296 Nippon Express (Viet Nam) Co., Ltd. Nippon Express Co., Ltd.
30 พ.ย. 2558 เวียดนาม Promotion of green hospitals by improving efficiency / environment in national hospitals in Vietnam 515 Energy Conservation Center Ho Chi Minh City (ECC) Mitsubishi Electric Corporation, Mitsubishi Corporation, Mitsubishi UFJ Morgan Stanley Securities Co., Ltd.
24 มี.ค. 2559 อินโดนีเซีย Energy Saving for Air-Conditioning at Textile Factory by Introducing High-efficiency Centrifugal Chiller in Karawang West Java 176 PT. Nikawa Textile Industry Nippon Koei Co., Ltd. (Focal Point), Ebara Refrigeration Equipment & Systems Co., Ltd.
24 มี.ค. 2559 อินโดนีเซีย Energy Saving for Air-Conditioning at Textile Factory by Introducing High-efficiency Centrifugal Chiller in Batang, Central Java (Phase 2) 145 PT. Primatexco Indonesia Nippon Koei Co., Ltd. (Focal Point), Ebara Refrigeration Equipment & Systems Co., Ltd.

ตรวจสอบข้อมูลล่าสุดได้ที่ https://www.jcm.go.jp

ปฏิทินกิจกรรม

ติดต่อ

สำนักรับรองคาร์บอนเครดิต (สรค.)

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.)

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 9

เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

โทร     02 141 9841

โทรสาร 02 143 8404

http://www.tgo.or.th

เว็บไซต์หลักของโครงการ JCM

เว็บไซต์ของหน่วยงานที่ให้ทุนพัฒนาโครงการ JCM

เว็บไซต์ของฝ่ายเลขานุการฯ คณะกรรมการร่วม ประเทศอินโดนีเซีย

ถาม-ตอบ JCM

1. โครงการที่เข้าข่ายเป็นโครงการ JCM ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
เป็นโครงการที่ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำซึ่งสามารถลดก๊าซเรือนกระจกเมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินงานโดยทั่วไป (Business as usual) ของธุรกิจนั้น ประเภทโครงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้พัฒนาเป็นโครงการ JCM คือ โครงการที่ประเทศไทยมีความพร้อมและความเหมาะสม ได้แก่ โครงการในภาคพลังงาน ภาคอุตสาหกรรม และภาคการจัดการของเสีย

2. หากสนใจพัฒนาโครงการ JCM จะต้องทำอะไรบ้าง
ผู้ที่พัฒนาโครงการสามารถสมัครขอรับทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาเป็นโครงการ JCM ได้ เมื่อผู้พัฒนาโครงการทราบผลการพิจารณาว่าเป็นหน่วยงานที่ได้รับทุนแล้ว จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องจักร หรือก่อสร้างโรงงาน และจัดเตรียมเอกสารข้อเสนอโครงการ (Project Design Document: PDD) จากนั้นผู้พัฒนาโครงการต้องให้หน่วยงานภายนอก (Third Party Entity: TPE) ตรวจสอบ PDD และออก validation report เพื่อให้ผู้พัฒนาโครงการใช้เป็นเอกสารประกอบการขอขึ้นทะเบียนเป็นโครงการ JCM เมื่อโครงการได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ผู้พัฒนาโครงการต้องบันทึกปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการดำเนินงาน และจัดทำรายงานการติดตามประเมินผล (monitoring report) เพื่อรายงานต่อผู้ให้ทุนและคณะกรรมการร่วมฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลตลอดอายุโครงการ (legal lifetime) ซึ่งอายุของโครงการแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันตามลักษณะของกิจการ และให้ TPE ทวนสอบความถูกต้องของ monitoring report ก่อนออก verification report เพื่อให้ผู้พัฒนาโครงการใช้เป็นเอกสารประกอบการขอรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ได้จากโครงการ JCM ซึ่งเครดิตที่ได้จะต้องแบ่งปันกันระหว่างผู้พัฒนาโครงการฝ่ายญี่ปุ่นและฝ่ายไทย

3. จะสมัครขอรับทุนได้อย่างไร
แหล่งทุนหลักสำหรับผู้พัฒนาโครงการทั่วไปในปัจจุบัน คือ กระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งให้ทุนเพื่อพัฒนาโครงการต้นแบบ JCM (JCM model project) ซึ่งจะประกาศรับใบสมัครขอรับทุนตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2559 ผู้ยื่นใบสมัครต้องเป็นนิติบุคคลของประเทศญี่ปุ่น โดยจะประกาศผลในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2559 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนใบสมัคร ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการสมัครขอรับทุนปี 2559 ได้ที่ http://gec.jp/jcm/kobo/mp160408.html

4. หากต้องการบริษัทที่ปรึกษาที่ช่วยพัฒนาโครงการจะต้องติดต่อใคร
ผู้พัฒนาโครงการสามารถติดต่อบริษัทที่ปรึกษาหรือตัวแทนจำหน่ายในไทย หรือผู้ผลิตในญี่ปุ่น หรือบริษัทการเงินที่สนใจร่วมพัฒนาโครงการ JCM ได้ โดยมีรายชื่อและรายละเอียดของบริษัทที่เคยประชุมหารือกับ อบก. และแจ้งความประสงค์ไว้ ดังตาราง

ชื่อบริษัท รายละเอียด ติดต่อ อีเมล
บริษัทที่ปรึกษาในการขอทุนเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ / การพัฒนาเป็นโครงการ JCM
Pacific Consultants Co.Ltd. - 1-7-5 Sekido, Tama-shi, Tokyo, 206-8550 Japan  
Kazuhito Yamada kazuhito.yamada@tk.pacific.co.jp
Tel: +81-42-372-7167  
Mariko Fujimori mariko.fujimori@tk.pacific.co.jp
Tel: +81-42-372-6031  
Oriental Consultants Co., Ltd. - Masahiko Fujimoto fujimotom@oriconsul.com
Wataru Morimoto morimoto-wt@oriconsul.com
Tetsuya Yoshida yoshidat@oriconsul.com
12-1, Honmachi 3-chome, Shibuya-ku, Tokyo, 151-0071 Japan  
Tel: +81-36-311-7898 (Mr.Fujimoto)  
Tel: +81-36-311-7893 (Mr.Yoshida)  
Eight-Japan Engineering Consultants Inc. มีสำนักงานในประเทศไทย Narumon Thongkhaw, Coordinator narumon@ej-hds.co.jp
Mr. Taisuke Odera, Representative oodera-ta@ej-hds.co.jp
Bangkok Representative Office  
B.B. Building, 15th Floor, Room 1515, 54 Sukhumvit 21 Road (Asoke), Klong Toey Nua, Wattana, Bangkok 10110  
Tel: 02-664-4144, 02-664-4146  
Mobile: 091-734-1294 (Narumon)  
Mobile: 087-924-9243 (Mr. Odera)  
Website: www.ejec.ej-hds.co.jp/en  
Mitsubishi UFJ มีสำนักงานในประเทศไทย คุณสินีนุช จงจรูญเกียรติ sineenuch.j@cefc-th.com
50/26 ถนนราชปรารภ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400  
Tel: 02-640-0106  
Myclimate Japan - Tomomichi Hattori thattori@myclimate.jp
Shinkawa Bldg. 4F 2-13-10 Shinkawa Chuo-ku Tokyo 104-0033 Japan  
Tel: +81-03 6228 3616  
Fax: +81-03 6228 3388  
Website: www.myclimatejapan.com  
ตัวแทนจำหน่ายฝ่ายไทยที่สนใจเข้าร่วมโครงการ JCM
Kinden (Thailand) Co., Ltd.   คุณวีระ อังกูรทัศนียรัตน์ weera_a@kinden.co.th
ห้อง 1001-3 ชั้น 10 อาคารเลิศปัญญา 41 ซอยเลิศปัญญา ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400  
Tel: 02-6427-344-6, 086-789-8722  
บริษัท VEGA Automation (2000) จำกัด   คุณรวีสวัสดิ์ สุวรรณสาธิต vega2000@vegaauto.co.th
55/393 หมู่ 7 ซอยพหลโยธิน 87 ถนนพหลโยธิน ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000  
Tel: 02-997-8800  
Website: www.vegaauto.co.th  
บริษัท อรุณสวัสดิ์ เอ็กซเพรส จำกัด   คุณอธิวัฒน์ วัชรกุล ardhiwat@hotmail.com
16/5 ซอยทวีสิทธิ์ ถนนสาธุประดิษฐ์ แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120  
Tel: 081-845-2076  
ผู้ผลิตฝ่ายญี่ปุ่นที่สนใจเข้าร่วมโครงการ JCM
Takuma Co., Ltd. ตัวแทนจำหน่าย Boiler อุตสาหกรรม Naoya Akasaki akasaki@takuma.co.jp
Energy & Environment Plant Export, EfW Plant, International Operations Division  
2-33 Kinrakuji-cho 2-chome, Amagasaki, Hyogo 660-0806, Japan  
Tel: +81-6-6483-2631  
Mobile: +81-80-3758-5207  
Website: www.takuma.co.jp  
Hitachi Zosen Corporation ผู้จำหน่ายโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม
มีสำนักงานในประเทศไทย
Noriaki Matsuo matsuo_n@hitachizosen.co.th
19th Floor, Room #1911, BB Building 54 Sukhumvit 21 (Asoke) Road, Klong Toey Nua, Wattana, Bangkok 10110  
Tel: +02-2594831-2  
Mobile: 089-8916264  
Website: www.hitachizosen.co.jp  
Nippon Steel & Sumikin Engineering Co., Ltd. ผู้จำหน่ายโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม
มีสำนักงานในประเทศไทย
Mr.Yosmongkol Sawadsaringkarn, Assistant Manager
Mr.Takeshi Nimura, Manager
yosmongkol-s@tha.eng.nssmc.com(Mr.Yosmongkol)
nimura.takeshi.qy3@eng.nssmc.com(Mr.Nimura)
Bangkok Representative Office 909 Ample Tower, 5th Floor, Bangna-Trad Km.4 Road, Khwang Bangna, Khet Bangna, Bangkok 10260  
Tel: +02-7441702  
Mobile: 093-507-1188 (Mr.Yosmongkol)
Mobile: 092-265-7116 (Mr.Nimura)
 
บริษัทการเงินที่สนใจเข้าร่วมโครงการ JCM
Orix Corporation Leasing Nobuaki Nishimura nobuaki_nishimura@orix.co.jp
World Trade Center Bldg., 2-4-1 Hamamatsu-cho, Minato-ku, Tokyo 105-6135, Japan  
Tel: +81-3-3435-3260  
Website: www.orix.co.jp