ในปี 2557 ประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศให้ต่ำกว่าระดับการปล่อยในการดำเนินงานตามปกติ (BAU) ร้อยละ 7-20 ในภาคพลังงาน และภาคขนส่ง ภายในปี พ.ศ. 2563 ตามแนวทางการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (NAMAs) ของสหประชาชาติ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานหลักภาคพลังงานของประเทศจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะรับผิดชอบต่อการบรรลุเจตนารมย์ดังกล่าว โดยจากการคำนวณสัดส่วนตาม NAMAs พบว่า การดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกของ กฟผ. ในปี 2563 มีเป้าหมายที่ 3-4 ล้านตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์
นางวราภรณ์ คุณาวนากิจ หัวหน้ากองบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กฟผ. เปิดเผยว่า จากการประเมินเบื้องต้น การลดก๊าซเรือนกระจกของ กฟผ. จะดีกว่าเป้าหมาย โดยมีศักยภาพลดได้ถึง 5.4 ล้านตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านมาตรการต่างๆ อันได้แก่
ไม่นับรวมโครงการปลูกป่า กฟผ. ที่คาดว่าจะช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 5 แสนตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2563
ที่ผ่านมา ในปี 2557 กฟผ. สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 3,229,064 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ โดยแบ่งเป็น มาตรการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 2,940,841 ตัน และมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า 288,223 ตัน
กฟผ. จึงมั่นใจว่าจะสามารถบรรลุหรือดีกว่าเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกตาม NAMAs และจะก้าวต่อไป ในการกำหนดมาตรการเพื่อการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือน ภายหลังปี 2563 (INDC) ที่ไทยได้ประกาศเจตนารมย์ระหว่างการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 (COP21) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อช่วงปลายปี 2558 ที่ไทยจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ร้อยละ 20-25 ภายในปี 2573 ซึ่งมีเป้าหมายควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 2 องศาเซลเซียส
กฟผ. มุ่งสู่การเป็นองค์กรการผลิตไฟฟ้าชั้นนำที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และเป็นองค์กรที่น่าภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน
ที่มาของบทความและรูปภาพประกอบ http://www.egat.co.th