facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]

ทส. จับมือ GC และสมาคมฟิกเกอร์และสปีดสเก็ตติ้งฯ พัฒนาพื้นที่อัพไซเคิลในลานสเก็ตน้ำแข็ง ส่งเสริมการกีฬาที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

11 ส.ค. 66

              วันที่ 11 สิงหาคม 2566 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีส่งมอบโครงการพัฒนาพื้นยางและเฟอร์นิเจอร์อัพไซเคิล สนามกีฬาลานสเก็ตน้ำแข็ง ที่ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (GC) ในการเริ่มแผนพัฒนากีฬาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่สมาคมกีฬาฟิกเกอร์และสปีดสเก็ตติ้งแห่งประเทศไทย โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก พร้อมด้วยผู้บริหารในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เข้าร่วม ณ ลานสเก็ตน้ำแข็ง ไอวิส อินเตอร์เนชั่นแนล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าอิมพีเรียล เวิลด์ สำโรง จังหวัดสมุทรปราการ

             โครงการพัฒนาพื้นยางและเฟอร์นิเจอร์อัพไซเคิล สนามกีฬาลานสเก็ตน้ำแข็ง ถือเป็นโครงการต้นแบบในการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของสมาคมกีฬาฟิกเกอร์และสปีดสเก็ตติ้งแห่งประเทศไทย ที่ได้มีแผนการดำเนินงานให้มีการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์กรกีฬาที่สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ สอดคล้องกับการดำเนินงานของ ทส. ที่ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นสนามแข่งขันสเก็ตน้ำแข็งต้นแบบแห่งแรกในประเทศไทยที่นำวัสดุใช้แล้วมาอัพไซเคิลให้เกิดประโยชน์ โดยการเลือกใช้วัสดุที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ของลานไอซ์สเก็ตและยังช่วยลดแรงกระแทก รวมถึงลดการบาดเจ็บของนักกีฬาในการฝึกซ้อม Off Ice ได้เป็นอย่างดี โดยสนับสนุนการจัดทำพื้นบริเวณรอบลานสเก็ตน้ำแข็ง จากยางรถยนต์เก่าและฉนวนหุ้มสายไฟ พร้อมทั้งสนับสนุนเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากเศษพลาสติกที่เหลือทิ้งระหว่างการผลิตและไม้ยาง เพิ่มคุณค่าของการคัดแยกและนำพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

 อีกทั้งการจัดงานในครั้งนี้ เป็นรูปแบบ “Green Event” โดยมีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในงาน และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการจัดงานนี้ทั้งหมดให้เป็นศูนย์ เพื่อเป็นงานที่นำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ “Carbon Neutral Event” เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมทั้งของประเทศและของโลกต่อไป