facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]

ทส. และ TGO ร่วมขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู้ภาวะโลกรวน อย่างยั่งยืน ในงาน “NEXT STEP THAILAND 2024”

11 มี.ค. 67

                 วันที่ 11 มีนาคม 2567 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “Climate Action Trend 2024 การขับเคลื่อนนโยบาย สู้ภาวะโลกรวน อย่างยั่งยืน” พร้อมด้วย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO โดย นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ TGO เป็นวิทยากรร่วมแบ่งปันมุมมองเรื่องความยั่งยืนในช่วง “SUS-TREND เทรนด์ความยั่งยืนกู้โลก” ภายในงาน NEXT STEP THAILAND 2024: Next Eco-System Tech & Sustain ซึ่งจัดโดย สปริงนิวส์ และเนชั่นกรุ๊ป ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ เพื่อเป็นเวทีที่เปิดให้ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนในการขับเคลื่อนประเทศ ได้แสดงมุมมองและวิสัยทัศน์ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านเทคโนโลยีและความยั่งยืนของโลก รวมทั้งให้ผู้ประกอบการธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งนิสิตและนักศึกษา ทันทุกกระแสการเปลี่ยนแปลงในปี 2004 ในด้านนวัตกรรม AI ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และสนับสนุนการทำงานในธุรกิจ อุตสาหกรรม การดูแลสิ่งแวดล้อมและการรับมือต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อความยั่งยืน

                 ในการนี้ นายจตุพรฯ ปลัด ทส. ได้กล่าวถึงกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย 6 ด้าน คือ ด้านนโยบาย ด้านการเงิน/การลงทุน ด้านเทคโนโลยี/นวัตกรรม ด้านองค์กร/กฎหมาย/ระเบียบ ด้านกลไกตลาดคาร์บอนเครดิต และด้านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งการปรับตัวให้อยู่รอดในภาวะโลกรวน จะต้องสร้างความตระหนักรู้ในทุกระดับ ขับเคลื่อนการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกทุกภาคส่วน และการกำหนดกฎหมายเฉพาะที่รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... โดยมีการกำหนดระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ระบบเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมคาร์บอนจากผลิตภัณฑ์ เก็บภาษีเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต และจัดทำ พ.ร.บ. บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... เพื่อมุ่งเน้นการจัดการมลพิษเชิงพื้นที่ ใช้หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เพื่อให้การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศโดยเฉพาะฝุ่นละออง PM2.5 มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

                ด้าน นายเกียรติชายฯ ผู้อำนวยการ TGO กล่าวว่า TGO สนับสนุน ให้ทุกภาคส่วนวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ โดยคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก 3 แพลตฟอร์ม ได้แก่ “CFO Platform” รายงานการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกสำหรับองค์กร และ 2 แอปพลิเคชัน คือ “Net Zero Man” เครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในชีวิตประจำวัน และ “Zero Carbon TH” เครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับอีเว้นท์ ซึ่งในยุคนี้เป็นยุคคนรุ่นใหม่ มีดิจิทัลเข้ามาเกี่ยว การนำสิ่งเหล่านี้มาวัดและมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก ใช้ไม่ยาก สามารถคำนวณได้ว่าปีหนึ่งเราปล่อยเท่าไร และสามารถซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยจากโครงการที่มีมาตรฐานและได้รับการรับรอง และสามารถออกใบรับรองได้ โดยผู้ที่ดูแลเรื่องมาตรฐานคือ TGO

               นอกจากนี้ TGO ยังร่วมจัดนิทรรศการให้ความรู้และคำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือ/กลไกต่างๆ ของ TGO (TGO Services) อาทิเช่น โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) หลักสูตรของสถาบันวิทยาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CAA) การลดและกักเก็บก๊าซเรือนกระจก คาร์บอนเครดิต การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กร ผลิตภัณฑ์ อีเว้นท์ และบุคคล