facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]

ทส. โดย อบก. จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติและแสดงความขอบคุณ องค์กรที่ขอการรับรองเครื่องหมายฉลากคาร์บอน

19 มี.ค. 68

                      วันนี้ (วันพุธที่ 19 มีนาคม 2568) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรเครื่องหมายรับรองฉลากคาร์บอน ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)  โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. จัดขึ้น เพื่อเชิดชูเกียรติและแสดงความขอบคุณต่อองค์กรที่ขอการรับรองเครื่องหมายฉลากคาร์บอน ในฐานะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ณ ห้อง Conference Hall สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) หรือ TIJ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

                       ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทส. กล่าวว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในวันนี้ถือเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศให้บรรลุตามเป้าหมายหรือ Net Zero และเป็นการช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในระยะยาว รวมทั้งได้กล่าวแสดงความยินดีและชื่นชมองค์กรที่ได้รับประกาศนียบัตร ซึ่งแสดงถึงความมุ่นมั่นตั้งใจในการดำเนินกิจกรรมที่คำนึงถึงการจัดการก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนเชิญชวนให้องค์กรอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ดำเนินงาน เข้ามาร่วมมือกันดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจก โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะยังคงให้การสนับสนุนและเสริมสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนอย่างเต็มที่ เพื่อให้ประเทศไทยให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ อันจะช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

                      ดร.ณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กล่าวว่า อบก. ได้พัฒนาระบบรับรองเครื่องหมายฉลากคาร์บอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน เพื่อกระตุ้นให้ภาคส่วนต่าง ๆ เกิดการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์และบริการ องค์กร งานอีเว้นท์ บุคคล ต่อยอดสู่กิจกรรมชดเชยคาร์บอน และ Net Zero เพื่อให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าและบริการของประเทศไทยในตลาดสากลต่อไป ที่ผ่านมา มีองค์กรที่ได้ให้ความสนใจดำเนินงานฉลากคาร์บอนเป็นอย่างมาก โดยมีผลิตภัณฑ์ และองค์กรที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย ได้แก่

  • เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือ CFP เครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (ฉลากลดโลกร้อน) หรือ CFR และเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ CE-CFP รวมจำนวน 11,486 ผลิตภัณฑ์ โดยมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากฉลากลดโลกร้อน จำนวน 10,076,362 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
  • เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร หรือ CFO จำนวน 1,426 องค์กร
  • เครื่องหมายการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset & Carbon Neutral) ทั้งประเภทองค์กร ผลิตภัณฑ์ อีเว้นท์ และบุคคล ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมผ่านการจัดหาคาร์บอนเครดิตมาชดเชย จำนวน 1,635,169 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
  • เครื่องหมาย Net Zero ประเภทผลิตภัณฑ์ จำนวน 8 ผลิตภัณฑ์ ประเภทอีเว้นท์ จำนวน 4 อีเว้นท์ ประเภทบุคคล จำนวน 3 คน โดยมีปริมาณคาร์บอนเครดิตจากภาคป่าไม้ชดเชย จำนวน 125 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

                      สำหรับองค์กรที่เข้ารับประกาศนียบัตรจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในวันนี้ มีจำนวนดังต่อไปนี้

  • เครื่องหมาย Net Zero จำนวน 2 องค์กร
  • เครื่องหมายการชดเชยคาร์บอน จำนวน 6 องค์กร
  • เครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือ ฉลากลดโลกร้อน จำนวน 5 องค์กร
  • เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน จำนวน 2 องค์กร
  • เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ จำนวน 16 องค์กร
  • เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร จำนวน 70 องค์กร

                      อบก. ในฐานะหน่วยงานที่มีพันธกิจในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก ยังคงมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานต่อไป เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและวิถีการบริโภคแบบยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก และระบบเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน