facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]

ทส. โดย TGO ร่วมกับ กระทรวงสิ่งแวดล้อม นิวซีแลนด์ จัดประชุม “14th APCMR” เพื่อส่งเสริมตลาดคาร์บอน เพิ่มการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

28 พ.ค. 67

                  วันที่ 27-28 พฤษภาคม 2567 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO เข้าร่วมเป็น Co-host จัดการประชุม The 14th Asia-Pacific Carbon Markets Roundtable (APCMR)” ร่วมกับกระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ตลาดคาร์บอนของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมทั้งหารือความต้องการและความร่วมมือในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านตลาดคาร์บอนระดับภูมิภาคในอนาคต โดยได้รับเกียรติจาก H.E. Mr. Jonathan Kings เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ประจำประเทศไทย ร่วมกับ ดร.ณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รองผู้อำนวยการ TGO รักษาการผู้อำนวยการ TGO เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ซึ่งมี นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองปลัด ทส. เข้าร่วมเป็นเกียรติในการประชุม รวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่ผลักดันตลาดคาร์บอนเครดิตของประเทศสมาชิกเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ ประเทศไทย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และสาธารณรัฐวานูวาตู เข้าร่วมการประชุมฯ ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ และผ่านทางระบบประชุมทางไกล (Video Conference)

                 ภายใต้การประชุมฯ มีการนำเสนอสถานการณ์ตลาดคาร์บอน และนโยบายการปรับโดยใช้กลไกราคาคาร์บอน โดยผู้เข้าร่วมจากแต่ละประเทศ รวมถึงมีการเสวนาแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดี (Best practice) ในการดำเนินการความร่วมมือภายใต้ความตกลงปารีสข้อ 6 (Article 6) โดยผู้แทนจากประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และสาธารณรัฐวานูวาตู

                อีกทั้งยังมีการเสวนาในหัวข้อ “ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจของประเทศไทย” โดยผู้แทนจากภาคเอกชนของประเทศไทย ซึ่งได้นำเสนอมุมมอง ความท้าทาย และโอกาสที่มีต่อตลาดคาร์บอนในปัจจุบัน รวมถึงโอกาสในการเชื่อมโยงตลาดคาร์บอนไทยไปสู่สากล นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มุมมอง และความร่วมมือระหว่างประเทศ (Bilateral) เพื่อร่วมกันกำหนดการดำเนินงานและความร่วมมือระหว่างรัฐภาคี (Cooperative implementation) เพื่อเพิ่มความสามารถในการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวในอนาคต