23 มี.ค. 64
ในการทดลองให้สาหร่ายทะเลผสมในปริมาณเพียงเล็กน้อยกับอาหารปกติ (ประมาณ 0.2% ของปริมาณอาหารที่สัตว์กินในหนึ่งวัน) สามารถลดปริมาณมีเทนไปได้ถึง 98% ในขณะที่วิธีอื่นที่เคยใช้มาลดมีเทนลงไปได้ราว 20 – 30% ในขณะที่การเลี้ยงสาหร่ายเพื่อทำอาหารสัตว์ยังเป็นการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยลดความเป็นกรดของน้ำทะเล


Rob Kinley นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบว่าสาหร่ายตระกูล asparagopsis สามารถยับยั้งการเกิดมีเทน กล่าวว่า “เทคนิคนี้จะเป็นวิธีการสำคัญที่จะลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากปศุสัตว์ในทศวรรษหน้า”
เนื่องจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกราว 15% จากการปล่อยของโลก และราว 40% ของมีเทนเกิดจากการย่อยอาหารของสัตว์ และจากข้อมูลของ FAO ประมาณการได้ว่าปริมาณการปล่อยมีเทนจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ 650 ล้านคัน
กระบวนการหมักในระบบย่อยอาหาร (Enteric Fermentation)
เมื่อวัวกินอาหาร เช่น หญ้าเข้าไป จุลินทรีย์ในกระเพาะหมัก (Rumen) จะก่อให้เกิดมีเทนซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการหมัก – ย่อยพืชของจุลินทรีย์ โดยมีเทนส่วนใหญ่จะระบายออกมาด้วยการเรอและส่วนที่เหลือจะระบายออกจากการผายลม
Asparagopsis และสาหร่ายทะเลชนิดอื่นๆ จะมีเซลชนิดพิเศษที่เก็บสาร bromoform (CHBr3) ซึ่งเมื่อนำสาหร่ายทะเลสีแดงนี้ไปผ่านกระบวนการ freeze-dried และผสมให้กระจายตัวลงไปในอาหารสัตว์ bromoform จะป้องกันไม่ให้อะตอมของ carbon และ hydrogen ไม่ให้รวมตัวกับเป็น มีเทน ในกระเพาะอาหาร จากกระบวนการนี้วัวจะสามารถสร้าง propionate (กรดไขมันที่ช่วยการสร้าง glucose ในกระบวนการ metabolism) ได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ร่างกายสัตว์มีประสิทธิภาพในการใช้อาหารเพื่อการเติบโตหรือผลิตน้ำนมได้ดีขึ้น หรือกระทั่งช่วยให้เกษตรกรสามารถประหยัดค่าอาหารไปได้

ความคิดการผสมสาหร่ายทะเลลงในอาหารวัวนี้ เกิดจาก Joe Dorgan เกษตรกรในเกาะ Prince Edward ของประเทศ Canada สังเกตเห็นว่าวัวที่เล็มหญ้าที่ชายหาดได้กินสาหร่ายทะเลเข้าไปด้วย มีอัตราการตั้งครรภ์ที่ดีขึ้น ให้นมมากขึ้น และเป็นโรคเต้านมอักเสบน้อยลงกว่า วัวที่ไม่ได้กินสาหร่ายทะเล ก่อนที่ Dorgan จะขายสาหร่ายทะเลให้กับเกษตรกรรายอื่น รัฐบาล Canada ได้มีข้อกำหนดเพื่อพิสูจน์ความปลอดภัยก่อนได้รับอนุญาตให้จำหน่ายได้ ซึ่งก็ได้รับการศึกษาและตีพิมพ์ผลการวิจัยในปี 2014 ในปัจจุบัน Dorgan คือเจ้าของร่วมของ North Atlantic Organics (
https://bit.ly/3rrdxCM) ผู้ผลิตสาหร่ายทะเลเพื่อผสมในอาหารสัตว์ โดยสาหร่ายทะเลที่ผสมลงในอาหารวัวช่วยลดมีเทนลงราว 18% ซึ่ง Robert Kinley ผู้วิจัยได้พยายามศึกษาวิจัยต่อยอดจากผลการศึกษานี้ และได้ย้ายมาทำการศึกษาต่อใน Australia และด้วยความร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์จาก Commonwealth Scientific and Industrial Research Organization (CSIRO) และ James Cook University
Kinley ได้พบว่าสาหร่ายทะเลในตระกูล asparagopsis สามารถส่งผลดีสภาพภูมิอากาศ แม้เพียงผสมลงในอาหารสัตว์เพียงเล็กน้อย CSIRO ได้รับอนุญาตในการใช้สาหร่าย asparagopsis เพื่อเป็นส่วนผสมในอาหารและได้ก่อตั้งบริษัท FutureFeed (
https://bit.ly/37MYtYq) เพื่อดำเนินการทางธุรกิจ แต่การผลิตสาหร่ายทะเลสีแดงชนิด Asparagopsis taxiformis และ Asparagopsis armata ในระดับการค้ายังมีข้อจำกัดหลายประการ รูปแบบการเพาะเลี้ยงที่เหมาะสมยังคงอยู่ในการศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นเพาะเลี้ยงในโรงเรือนหรือเพาะเลี้ยงในท้องทะเล และยังต้องการความยอมรับจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์อีกด้วย ถึงแม้ว่าสาหร่ายทั้งสองชนิดจะเป็น Native Species ของท้องทะเลแถบนั้น แต่การเพาะเลี้ยงจำนวนมากในระดับอุตสาหกรรมก็อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การเพาะเลี้ยงในท้องทะเล ดูท่าจะให้ผลที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากด้วยสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติจึงไม่ต้องการพลังงานในการดูแลการเพาะเลี้ยง และสาหร่ายทะเลยังช่วยดูดซับธาตุอาหารที่มากเกินไปจากการชะล้างลงสู่ท้องทะเล โดยสาหร่ายจะดูดซับไนโตรเจนและยังเป็นการทำความสะอาดน้ำทะเล โดยการเพาะเลี้ยงสาหร่ายนี้ควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลาชายฝั่ง จะช่วยดูดซับสารอาหารที่มากเกินไปจากการเพาะเลี้ยงปลา เป็นการทำความสะอาดน้ำทะเล และป้องกันปัญหา Algae Bloom ได้อีกด้วย
Ref:
In vitro evaluation of feeding North Atlantic stormtoss seaweeds on ruminal digestion -
https://bit.ly/3hdmjiW)
Red seaweed (Asparagopsis taxiformis) supplementation reduces enteric methane by over 80 percent in beef steers -
บทความโดย Tatiana Schlossberg