ว่ากันว่าการรณรงค์ หรือการขอความร่วมมือโดยไม่ได้มีบทลงโทษทางกฎหมาย มักจะไม่ทำให้คนไทยตระหนักถึงความร่วมมือจนนำไปสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมาย
ว่ากันว่าการรณรงค์ หรือการขอความร่วมมือโดยไม่ได้มีบทลงโทษทางกฎหมาย มักจะไม่ทำให้คนไทยตระหนักถึงความร่วมมือจนนำไปสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมาย
ทำนองเดียวกันกับ “มาตรการกระตุ้นให้คนไทยลดใช้พลาสติก” ด้วยการคืนผลประโยชน์ ถ้าแรงจูงใจยังน้อยนักก็คงยากจะไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เคยได้รับความสะดวกสบายจากการใช้ถุงหิ้วพลาสติก หรือการซื้อน้ำดื่มขวดพลาสติกตามร้านสะดวกซื้อ
อีกหนื่งสาเหตุที่ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีขยะพลาสติกสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก คือ เราแทบไม่มี “จุดบริการน้ำดื่ม” ที่ให้ประชาชนสามารถกรอกใส่กระติกน้ำตามที่สาธารณะเลย ที่จริงแล้วนี่เป็นวิธีที่เกิดประสิทธิภาพที่สุดในการลดจำนวนขวดพลาสติกเป็นล้านๆ ขวดในแต่ละปีที่สุดท้ายไปกองอยู่ในทะเล
น้ำดื่มฟรี น้ำจากก๊อกที่สะอาดดื่มได้อย่างสะดวกในยุโรปหลายประเทศ เช่น มีตู้กดน้ำสาธารณะให้กดดื่มฟรีรวมถึงก๊อกน้ำตามบ้านเรือนต่างๆ ก็เป็นน้ำที่ดื่มได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นตลอดทริปการเดินทาง คุณซื้อขวดน้ำแค่ครั้งเดียว เมื่อดื่มหมดก็นำขวดเปล่าไปเติมตามสถานที่ต่างๆ อย่างสะดวก
รวมถึงแรงจูงใจที่มากพอ อย่างเช่น การส่งเสริมให้ประชาชนผู้บริโภครู้จักการรีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ใหม่ โดยมี “ตู้เครื่องรีไซเคิลอัตโนมัติ” ให้ทุกคนเอาขวดน้ำหรือกระป๋องอลูมิเนียมเปล่าใส่เข้าไป ได้ใบเสร็จออกมาก็เอาไปใช้แทนเงินได้ที่ซูเปอร์มาร์เก็ต
เช่น ที่ประเทศนอร์เวย์ ทุกครั้งที่คุณโยนขวดพลาสติกลงไปในตู้รีไซเคิล จะได้รับเงินคืน 1 หรือ 2 โครน และบริษัทที่ผลิตน้ำดื่มและน้ำอัดลม เป็นผู้จ่ายเงินค่ารีไซเคิลขวดเหล่านั้น โดยบริษัทผู้ผลิตก็จะได้รับการลดหย่อนภาษี
อีกสาเหตุที่ไทยมีปริมาณการทิ้งขยะสูงเป็นอันดับที่หกของโลกหรือไม่? ถ้าหากเป็นอย่างนั้นจริง คุณทราบหรือยังว่า พลาสติก คือ ตัวก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก เพราะ
1. ขวดพลาสติกใช้เวลาถึง 400-1000 ปี ในการย่อยสลาย
2. มีขวดพลาสติกเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น ที่ถูกนำไปรีไซเคิล
3. การผลิตขวดพลาสติก 1 ขวด ใช้น้ำเป็นปริมาณถึง 3 เท่าของปริมาณน้ำที่มันใช้บรรจุ
ส่วนการที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง และความร่วมมือของภาคเอกชนที่เข้าร่วมรณรงค์ด้วยเชิญชวนให้คนไทยร่วมมือกันลดใช้ถุงพลาสติก (ถุงหิ้ว) การลดใช้ขวดน้ำดื่มพลาสติก โดยเฉพาะวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ซึ่งในปีนี้นานาประเทศพุ่งเป้าไปยังปัญหา “ขยะพลาสติก” ก่อผลกระทบต่อระบบนิเวศมหาสมุทร
ที่มาของบทความและรูปภาพประกอบ: https://mgronli ne.com