facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list
  • 1830

เอลนีโญกับความเปลี่ยนแปลงในแอนตาร์กติกา

17 ม.ค. 61

นักวิจัยด้านสมุทรศาสตร์จากสถาบันสคิพพ์สแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก และจากห้องปฏิบัติการจรวดขับเคลื่อนความดันขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา ซึ่งร่วมกันศึกษาเกี่ยวกับความแปรปรวนของสภาพอากาศและมหาสมุทรทั่วโลก ได้รายงานลงวารสารธรณีวิทยาธรรมชาติเมื่อไม่นานมานี้ถึงข้อมูลเพิ่มเติมของสถานการณ์ชั้นน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาที่เกี่ยวพันกับปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino)

นักวิจัยด้านสมุทรศาสตร์จากสถาบันสคิพพ์สแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก และจากห้องปฏิบัติการจรวดขับเคลื่อนความดันขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา ซึ่งร่วมกันศึกษาเกี่ยวกับความแปรปรวนของสภาพอากาศและมหาสมุทรทั่วโลก ได้รายงานลงวารสารธรณีวิทยาธรรมชาติเมื่อไม่นานมานี้ถึงข้อมูลเพิ่มเติมของสถานการณ์ชั้นน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาที่เกี่ยวพันกับปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino)

ทีมวิจัยเผยว่าได้ใช้การสังเกตการณ์จากดาวเทียม พุ่งเป้าไปที่ความสูงของชั้นน้ำแข็งในคาบสมุทรแอนตาร์กติกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537-2560 พบว่า ความแข็งแรงเติบโตขึ้นของปรากฏการณ์เอลนีโญ อาจทำให้ชั้นน้ำแข็งบางส่วนของทวีปสูญหายไปโดยเฉพาะทางแอนตาร์กติกาตะวันตก ซึ่งระบุว่าตลอดช่วงระยะเวลา 23 ปีที่สังเกตการณ์นั้น ชั้นน้ำแข็งในทะเลอะมันด์เซนแห่งแอนตาร์กติกามีความสูงลดลง 20 เซนติเมตรต่อปี รวมเป็น 5 เมตร ส่วนใหญ่เกิดจากการละลายลงในมหาสมุทร

แม้ว่าการละลายของชั้นน้ำแข็งจะไม่ส่งผลโดยตรงต่อระดับน้ำทะเลเพราะมันก็ลอยอยู่ แต่สิ่งสำคัญที่นักวิจัยกังวล คือ อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อน้ำแข็งหลุดออกจากแผ่นดินลงสู่มหาสมุทรเพิ่มมากขึ้น พวกเขามองว่าการทำความเข้าใจว่าอะไรที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชั้นน้ำแข็ง จะทำให้รับรู้อย่างใกล้ชิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับน้ำแข็ง และส่งผลอย่างไรเมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยนักวิจัยปรับปรุงการคาดการณ์ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นได้อย่างแม่นยำ


ที่มาของบทความและรูปภาพประกอบ: https://www.thairath.co.th