31 ก.ค. 67
ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลายเป็นวิกฤตระดับโลก การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับบุคคลมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ละคนมีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างไร และมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยเท่าไหร่ โดยข้อมูลจาก Our World in Data ปี 2022 พบว่า ค่าเฉลี่ยของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัวประชากรทั่วโลก อยู่ที่ประมาณ 4-5 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (tCO
2e/year) ซึ่งตัวเลขนี้ยังแตกต่างกันอย่างมากระหว่างกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า ประเทศที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบุคคลต่อหัว มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ บรูไน 24 tCO
2e/คน/ปี, สิงค์โปร 8.9 tCO
2e/คน/ปี, มาเลเซีย 8.6 tCO
2e/คน/ปี ส่วนประเทศไทยมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัวประชากรเฉลี่ยอยู่ที่ 3.8 tCO
2e/คน/ปี ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับกลางๆ แต่ถ้าเทียบกับเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า ลาว เวียดนาม ประเทศไทยเรายังถือว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงกว่าอยู่มาก ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับบุคคล เช่น
1. การใช้พลังงานในที่พักอาศัย (ประมาณ 20-30% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนบุคคล) คนที่อาศัยในเมืองใหญ่มักจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าคนในชนบท เนื่องจากการใช้พลังงานและการบริโภคที่สูงกว่า
2. การเดินทางและการขนส่ง (ประมาณ 25-35% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนบุคคล) ผู้ที่มีรายได้สูงมักจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า เนื่องจากการบริโภคและการเดินทางที่มากกว่า เช่น การใช้รถยนต์ส่วนตัว การเดินทางโดยเครื่องบิน เป็นต้น
3. อุปนิสัยการบริโภค (ประมาณ 15-25% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนบุคคล) การกินอาหารในชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหารมังสวิรัติหรือวีแกนสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 0.8 tCO
2e/ปี เมื่อเทียบกับการรับประทานเนื้อสัตว์ หรือการเลือกใช้สินค้าและบริการในชีวิตประจำวัน ก็เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอีกด้วย
4. การจัดการขยะ (ประมาณ 3-5% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนบุคคล) การทิ้งขยะของบุคคลก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากการฝังกลบ หรือแม้แต่การเผาขยะ ไม่คัดแยกขยะรีไซเคิลก็ส่งผลต่อการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม การเข้าใจถึงปริมาณและแหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนบุคคลเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาโลกเดือดได้ แม้ว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกจะอยู่ที่ 4-5 tCO
2e/คน/ปี แต่มีความแตกต่างอย่างมากในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ อยู่ที่การเลือกและปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้น สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนบุคคลได้อย่างมีนัยสำคัญ ปัจจุบัน TGO ได้พัฒนา Application: Net Zero Man ให้คนไทยได้ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับบุคคลได้อย่างง่ายๆ ด้วยตัวเอง ซึ่งภายใน App มีการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งปี และยังสามารถชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกภายใน App เพื่อเป็นคนไทยหัวใจไร้คาร์บอน ได้ง่ายๆ อีกด้วย ถ้าท่านอยากรู้ว่าพฤติกรรมของเรามีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกเดือนมากน้อยแค่ไหน สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ทั้งระบบปฏิบัติการระบบ Android และ iOS โดยชื่อโปรแกรมที่ปรากฏใน Play Store หรือ App Store เรียกว่า “Net Zero Man”
อ้างอิง:
1. Global Carbon Budget (2023); Population based on various sources (2023)
2. Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC)
3. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)