facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]

TGO ร่วมกับ สผ. และ GGGI จัดประชุมเปิดตัวโครงการ SPAR6C ในประเทศไทย เพื่อผลักดันความพร้อมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศภายใต้กรอบ Article 6

27 เม.ย. 66

             วันที่ 25 และ 27 เมษายน 2566 องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และสถาบันเพื่อการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Global Green Growth Institute: GGGI) จัดการประชุมเพื่อเปิดตัวโครงการ Supporting Preparedness for Article 6 Cooperation หรือ SPAR6C ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพอากาศแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน (BMWK) ผ่านทาง International Climate Initiative (IKI) ของรัฐบาลเยอรมัน สำหรับการดำเนินการเพื่อสนับสนุนประเทศไทยในการเพิ่มศักยภาพ และเตรียมความพร้อมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศภายใต้กรอบความตกลงปารีสข้อ 6 (Article 6 of the Paris Agreement) โดยมีระยะเวลาโครงการระหว่างปี พ.ศ. 2565-2570

            ในวันที่ 25 เมษายน 2566 ได้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ตลาดคาร์บอนและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับ Article 6 ของความตกลงปารีส (Article 6 of Paris Agreement) โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมประมาณ 45 คน สาระสำคัญของการประชุมประกอบด้วย การให้ความรู้ การดำเนินความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับข้อ 6 ของความตกลงปารีส หรือความร่วมมือในการพัฒนาตลาดคาร์บอนในระดับสากลและในการดำเนินงานของประเทศไทย โดยผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท KPC และ นางสาวนารีรัตน์ พันธุ์มณี ผู้อำนวยการกองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สผ. การพัฒนาตลาดคาร์บอนและระบบทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิตของประเทศไทย โดยนางสาวปวีณา พาณิชยพิเชฐ ผู้จัดการสำนักรับรองคาร์บอนเครดิต และ นางสาววรารัตน์ ชะอุ่มเครือ ผู้จัดการ สำนักสื่อสารและทะเบียนคาร์บอนเครดิต TGO การทำกิจกรรมกลุ่มระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเบื้องต้นต่อผลการประเมินความพร้อมในการดำเนินงานตามข้อ 6 ของความตกลงปารีสของประเทศไทย (Readiness and Needs Assessment)

               ในวันที่ 27 เมษายน 2566 ได้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประเมินความพร้อมและความต้องการสำหรับการดำเนินการที่เกี่ยวกับ Article 6 ของความตกลงปารีสของประเทศไทย (Article 6 Readiness and Needs Assessment Validation Workshop) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ประมาณ 75 คน สาระสำคัญของการประชุมประกอบด้วย การนำเสนอผลการประเมินความพร้อมและความต้องการสำหรับการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับข้อ 6 ของความตกลงปารีสของประเทศไทย เพื่อพิจารณาแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศด้วยกลไกดังกล่าว โดยผู้เข้าร่วมประชุมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงผลการศึกษา โดยเฉพาะการสนับสนุนหน่วยงานรายสาขาในการกำหนดกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน นอกจากนี้ผู้แทนจาก TGO สผ. BMWK และผู้ดำเนินโครงการ ยังได้ร่วมหารือแผนการดำเนินโครงการในระยะต่อไป อาทิ การจัดทำยุทธศาสตร์การดำเนินงานเกี่ยวกับข้อ 6 ของความตกลงปารีส การพัฒนากลไกและการเสริมสร้างขีดความสามารถ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถดำเนินงานตามข้อ 6 ของความตกลงปารีสได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

               โครงการ Supporting Preparedness for Article 6 Cooperation หรือ SPAR6C ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพอากาศแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน (BMWK) ผ่านทาง International Climate Initiative (IKI) ของรัฐบาลเยอรมัน ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 5 ปี (พ.ศ. 2565-2570) โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนการมีส่วนร่วมการดำเนินงานตามข้อ 6 ของความตกลงปารีส ในประเทศไทย โคลอมเบีย ปากีสถาน และแซมเบีย นอกจากการสนับสนุนในประเทศแล้ว SPAR6C ยังจัดให้มี “Community of Practice for Article 6 Implementing Countries” หรือ “CoP-ASIC” เป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนความรู้สำหรับผู้มีส่วนเสียทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

               โครงการ SPAR6C ดำเนินการโดยกลุ่มภาคีเครือข่าย ซึ่งนำโดย Global Green Growth Institute (GGGI) ร่วมกับ Carbon Limits, GFA Consulting Group (GFA), Kommunalkredit Public Consulting (KPC) และ UN Environment Programme’s Copenhagen Climate Center (UNEP-CC) ภายใต้การสนับสนุนของ GGGI ซึ่งโครงการ SPAR6C ในประเทศไทยดำเนินการโดย KPC ร่วมกับ กระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยTGO และ สผ.