facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list

บทความ

 

Global Risk Report 2025: ภูมิทัศน์โลกที่แตกร้าวมากขึ้น

22 ม.ค. 68


                  The Global Risk Report 2025 โดย World Economic Forum ได้เน้นย้ำถึงภัยคุกคามที่รุนแรงที่สุดในปัจจุบัน นั่นคือ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ผลกระทบดังกล่าวไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่สิ่งแวดล้อม แต่ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศต่าง ๆ หากย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ในปี 2024 เราจะพบว่ามีเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วเกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้น เช่น คลื่นความร้อนที่ทำลายสถิติในหลายประเทศทั่วโลก น้ำท่วมฉับพลันที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก และไฟป่าที่ลุกลามอย่างรวดเร็ว ซึ่งในปี 2025 สถานการณ์เหล่านี้ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ปัญหาการละลายของธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็งยังคงเป็นปัญหาเรื้อรัง ระดับน้ำทะเลได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อชุมชนชายฝั่งและเกาะเล็กเกาะน้อยทั่วโลก ระบบนิเวศทั้งบนบกและในทะเลได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเป็นไปอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารและระบบนิเวศโดยรวม
 
                  ในรายงานได้แบ่งประเด็นความเสี่ยงออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ (Economic) - สีฟ้า ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) - สีเขียว ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical) - สีส้ม ความเสี่ยงด้านสังคม (Societal) - สีแดง ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี (Technological) – สีม่วง ประเด็นความเสี่ยงที่รุนแรง ตั้งแต่ปี 2024-2025 นั้น ยังคงเป็น เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว หรือ Extreme weather events เช่น คลื่นความร้อน น้ำท่วม พายุไซโคลน โดยอาจเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาทั้ง 2 ปี และ 10 ปี อันดับถัดมา คือ ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และ การแพร่ระบาดของโรค ดังนั้น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกวันนี้เพิ่มขึ้นไปแล้ว 1 องศาเซลเซียส ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นมีรูปแบบและความเข้มข้นที่เปลี่ยนแปลงไปหมดไม่ว่าจะเป็นคลื่นความร้อน (Heat Wave) พายุทอร์นาโด พายุไซโคลน ภัยแล้ง หรือน้ำท่วม ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3 องศาเซลเซียส ภายในปี ค.ศ. 2100 น้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น 7 เมตร ระบบนิเวศวิทยาทางทะเล ปลาต่าง ๆ จะสูญหายหรือสูญพันธุ์ สิ่งเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
 
                  นอกจากนี้ ยังได้สรุป ความเสี่ยง 5 อันดับแรกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 ปีข้างหน้า จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหาร (Executive Opinion Survey: EOS) ดังนี้
                  · ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Economic downturn): ความเสี่ยงนี้เกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น สงครามการค้า สภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
                  · ปัญหาสิ่งแวดล้อม (Pollution): ปัญหามลพิษทั้งทางอากาศ น้ำ และดิน ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังของประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม
                  · ความขัดแย้งทางสังคม (Social Unrest): ความไม่เท่าเทียมทางสังคม การแบ่งแยกทางการเมือง และความขัดแย้งในสังคม อาจนำไปสู่ความไม่มั่นคงและส่งผลกระทบต่อการลงทุน
                  · การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change): เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม และอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร โครงสร้างพื้นฐาน และเศรษฐกิจของประเทศ
                  · ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats): การโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อระบบคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
 
                  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามที่รุนแรงที่สุดและเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไข เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการบรรเทาผลกระทบ และจำเป็นต้องปรับตัวเข้ากับผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว