facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]

TGO ร่วมกับ TCNN พัฒนาศักยภาพองค์กรสมาชิก เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อมุ่งสู่ Net Zero

28 พ.ย. 67

               วันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2567 องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ร่วมกับ เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) จัดกิจกรรม TCNN Study Trip ครั้งที่ 2: Climate Technology & Innovation for Carbon Neutrality/ Net Zero เพื่อให้องค์กรสมาชิกเครือข่ายฯ ศึกษา ดูงาน และมีความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อผลักดันการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกให้ได้ตามเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero GHG Emissions โดยมี ดร.ณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รองผู้อำนวยการ TGO และรักษาการผู้อำนวยการ TGO พร้อมด้วยสมาชิกเครือข่าย TCNN รวมทั้ง ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ TGO เข้าร่วม ณ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง

             ภายในกิจกรรมได้เข้าร่วมศึกษาดูงาน 4 แห่ง ได้แก่

             สยามคูโบต้าฟาร์ม ในประเด็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรยั่งยืน โดยใช้นวัตกรรมเกษตรครบวงจรเพื่อยกระดับให้เป็นเกษตรแม่นยำที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและให้ผลลัพธ์คุ้มค่า รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้หลังการเก็บเกี่ยว เช่น ฟางข้าว ตอซังข้าว และใบอ้อย เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5

            สถานีเติมไฮโดรเจน (Hydrogen Station) เป็นสถานีต้นแบบเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) แห่งแรกของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Hydrogen Station) โดยได้เพิ่มขีดความสามารถของ Hydrogen Station ในการเติมเชื้อเพลิงจากที่สามารถเติมให้กับรถยนต์ Toyota Mirai ซึ่งมีความจุ Hydrogen ที่ 5.6 กิโลกรัม เพิ่มเป็นความจุสูงสุดที่ 50 กิโลกรัม เพื่อขยายผลการใช้งานในรถยนต์ประเภทต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย

            โรงงาน Maptaphut Air Product Co., Ltd. (MAP) เป็นโรงแยกอากาศแห่งแรกในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้เทคโนโลยีการแยกอากาศโดยอาศัยพลังงานความเย็นที่ได้จากการเปลี่ยนสถานะก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ซึ่งสามารถผลิตก๊าซอุตสาหกรรมจากความเย็นจากกระบวนการแปรสภาพ LNG อาทิ ออกซิเจน ไนโตรเจน และอาร์กอน ปริมาณมากถึง 450,000 ตันต่อปี และจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้กว่า 90,000 ตันต่อปี

            โรงงานผลิตก๊าซไฮโดรเจน BIG Nongfab H2 Plant (บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด) เป็นโรงงานผลิตก๊าซไฮโดรเจน ที่รองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงกลั่น เชื้อเพลิงยานยนต์ รวมทั้งกระบวนการและอุปกรณ์ต่างๆ มีกำลังการผลิตไฮโดรเจน 12,000 ตันต่อปี เพื่อเป็นฐานการผลิตก๊าซอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของประเทศ รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและโรงกลั่นในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก