facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]

TGO ร่วมพัฒนาศักยภาพ KU ในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายใต้ “งานประชุมวิชาการเกษตรแฟร์ 2566”

02 มี.ค. 66

              วันที่ 2 มีนาคม 2566 องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO โดย นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ TGO ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ TGO’s Carbon Neutrality Strategies” ใน “งานประชุมวิชาการเกษตรแฟร์ ประจำปี 2566” ภายใต้ธีมงาน “เกษตรศาสตร์เพื่อมวลชน: พัฒนาศาสตร์แห่งแผ่นดิน สู่สุขภาวะอย่างยั่งยืน (KASETSART for All: Expanding Knowledge of the Land towards Sustainable well-being)” ซึ่งดำเนินการโดยคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดมาตรฐานของประเทศไทยและระดับสากลเกี่ยวกับแนวทางการประเมิน Carbon footprint และแนวทางการดำเนินการเพื่อเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งเป็นการถอดบทเรียนการดำเนินงานจริงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำมาเป็นนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของมหาวิทยาลัยและประเทศต่อไป โดยมี ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี KU พร้อมด้วย ผู้บริหาร บุคลากรและนิสิตจาก KU เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 306 อาคารสำนักบริการคอมพิวเตอร์ KU และผ่านทางระบบ Video Conference

            ในการนี้ นายเกียรติชาย ผู้อำนวยการ TGO ได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ ทิศทางของโลกในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลลัพธ์จากการประชุม COP27 เช่น แผนงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกที่เร่งลดก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 43 ภายในปี 2030 และการตั้งกองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหาย (Loss and Damage Finance Fund) เป็นต้น การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ผ่านการดำเนินงานทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบาย ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ด้านการค้าการลงทุน ด้านพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิต ด้านการเพิ่มแหล่งกักเก็บ/ดูดกลับก๊าซเรือนกระจก และด้านกฎหมาย ทั้งยังบรรยายเกี่ยวกับกลไกและบริการต่างๆ ของ TGO ในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เช่น โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) หลักสูตรของสถาบันวิทยาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CAA) และความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ผ่านเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN)