facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]

TGO และ มช. ร่วมเสริมสร้างศักยภาพ ทสจ. ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด

28 มิ.ย. 66

              วันที่ 27-28 มิถุนายน 2566 องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) ครั้งที่ 1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทสจ. ที่เกี่ยวข้องกับแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด การพัฒนาโครงการดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากพื้นที่สีเขียว การติดตามประเมินผลมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการจัดทำบัญชีรายการความเสี่ยง (Risk Profile) และจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการปรับตัวในระดับพื้นที่ ทั้งยังเป็นการขับเคลื่อนและบูรณาการการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่แต่ละจังหวัด เพื่อเตรียมความพร้อมและความสามารถในการรับมือ รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับประเทศต่อไป โดยมี นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ TGO เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม ทั้งนี้มีผู้แทนจาก ทสจ. ในพื้นที่ภาคกลาง เข้าร่วม ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ และผ่านทางระบบประชุมทางไกล (Video Conference)

            ภายใต้การฝึกอบรมมีการบรรยายเกี่ยวกับ การดำเนินการและเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย การจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด การพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) และการนำคาร์บอนเครดิตไปใช้ประโยชน์ การประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกและการติดตามผลโครงการ T-VER ภาคพลังงานและการจัดการของเสีย ภาคป่าไม้และการเกษตร โดย นายจักรพงษ์ แย้มยิ้ม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมเมืองและสังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมด้วยนักวิชาการจาก TGO รวมทั้งมีการให้คำแนะนำและแนวทางการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย นางณัฏฐนิช อัศวภูษิตกุล ผู้อำนวยการกองบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

            นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอแผนและความก้าวหน้า รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานแต่ละจังหวัด โดยผู้แทน ทสจ. ทั้ง 25 จังหวัดในพื้นที่ภาคกลาง และมีการจัดทำ Workshop เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ห่วงโซ่ผลกระทบใน 6 สาขาภัยพิบัติ รวมถึงการจัดลำดับความเสี่ยง การกำหนดเกณฑ์และการคัดเลือกมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย รศ.ดร.อลิส ชาร์ป มช. และนายธีรพงษ์ เหล่าพงศ์พิชญ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สผ. ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อการจัดทำ Workshop