facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]

TGO และ สสส. ผนึกพลัง 10 หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน MOU บูรณาการทำงานเชิงรุก หนุนเสริมข้อมูลวิชาการ สร้างองค์ความรู้ ขับเคลื่อนแก้ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม นำสู่สังคมสิ่งแวดล้อมสุขภาวะ

30 ส.ค. 65

           วันที่ 30 ส.ค. 2565 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “บูรณาการดำเนินงานด้านมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะ” ที่ครอบคลุม 4 ประเด็นสำคัญ มลพิษทางอากาศ มลพิษจากขยะ มลพิษอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระหว่าง 10 หน่วยงาน ได้แก่ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO กรมควบคุมมลพิษ กรมอนามัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร และ สสส. โดยมีคณะผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ โรงแรมคราวน์พลาซ่า กรุงเทพฯ

           ที่ผ่านมา TGO ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนเทคนิควิชาการและกำกับมาตรฐานภาคสมัครใจทั้งการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กร ผลิตภัณฑ์ บุคคล การจัดประชุมและงานอีเว้นท์ รวมทั้งการลดก๊าซเรือนกระจกระดับโครงการและกิจกรรม ได้ร่วมกับ สสส. เพื่อร่วมมือกันขับเคลื่อนป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในมิติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมอีก 8 หน่วยงานในครั้งนี้ ถือเป็นการบูรณาการทำงานกันอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งการสนับสนุนข้อมูลวิชาการ การสร้างเสริมองค์ความรู้ การป้องกันมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ และเป็นการสร้างสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี โดย TGO พร้อมขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันกับทุกฝ่ายเพื่อสร้างสรรค์งานหรือกิจกรรมที่เหมาะสมอย่างยั่งยืนต่อไป

           การลงนาม MOU นี้ จึงเป็นการตอกย้ำจุดยืนว่า TGO สสส. และอีก 8 หน่วยงาน จะส่งเสริมสุขภาวะทุกคนบนแผ่นดินไทย ให้มีวิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีในทุกมิติ ทำให้เห็นเป็นรูปธรรมผ่าน 3 วัตถุประสงค์หลัก 1) หาแนวทางควบคุมและลดความเสี่ยงจากมลพิษทางสิ่งแวดล้อม 2) สนับสนุนการสร้างพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่ปลอดภัยตอบสนองต่อสภาพปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 3) สร้างระบบสังคม วัฒนธรรม จิตสำนึกที่เอื้อต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก