facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]

ทส. พร้อมด้วย TGO ร่วมงาน “Shell Forum 2022” เวทีระดมความคิดและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน สู่สังคมคาร์บอนต่ำและเป้าหมาย Net Zero Emission

03 ส.ค. 65

            วันที่ 3 สิงหาคม 2565 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกล่าวปาฐกถา ในหัวข้อ “Thailand's Climate Commitment and Decarbonization Journey” พร้อมด้วย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO โดย นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ TGO กล่าวปาฐกถา หัวข้อ The Evolution of Carbon Market in Thailand” ในงานเสวนา Shell Forum 2022 “Decarbonization The Journey Towards Law - Carbon Economy” ซึ่งจัดโดย บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด หรือ Shell เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมและส่งเสริมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนระบบพลังงานที่มุ่งเน้นการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ อันเป็นการสนับสนุนนโยบายของภาครัฐเพื่อให้ประเทศไทยมุ่งสู่พลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อการพัฒนาอนาคตทางพลังงานที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยเป็นสำคัญ โดยมี นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการและกรรมการบริหารฝ่ายการเงิน Shell กล่าวต้อนรับและปาฐกถา หัวข้อ “Shell’s Powering Progress Strategy and Its Applicability to Thailand” ทั้งนี้มีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากภาครัฐและภาคเอกชนชั้นนำทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วม ณ โรงแรม Siam Kempinski กรุงเทพฯ

            นายวราวุธ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือกับนานาชาติและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการร่วมกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 ดังที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ ในที่ประชุม COP26 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ซึ่งเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทยว่าเราทำได้ ถ้าร่วมมือกัน “Together Possible” โดยในวันที่ 5 -6 สิงหาคม นี้ จะมีการจัดประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย หรือ Thailand Climate Action Conference (TCAC) โดยมี นายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาพิเศษ ณ รอยัล พารากอนฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งเป็นการจำลองรูปแบบของการจัดประชุม COP มาเป็น COP Thailand ถือเป็นประเทศแรกของโลก ตอกย้ำประชาคมโลกว่า ประเทศไทยตื่นตัวและดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ตามที่ได้ให้สัญญาไว้ต่อนานาอารยประเทศ ถึงเวลาแล้วที่นานาอารยประเทศจะต้องทำตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้เช่นกัน

            ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ใช้หลักการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบาย BCG Economy ของรัฐบาล เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบาย ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี CCS (Carbon Capture and Storage) ที่ต้องเร่งขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เนื่องจากในท้ายที่สุดแล้ว จะเป็นหัวใจสำคัญในระยะยาวของการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกของประเทศ นอกจากนี้ ยังรวมถึงด้านการลงทุน ด้านพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิต ด้านกฎหมาย และด้านการเพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ที่มีความพร้อมให้เอกชนร่วมปลูกป่า และแบ่งปันคาร์บอนเครดิต ในพื้นที่ของรัฐแล้วประมาณ 6 แสนไร่ เพื่อส่งเสริมพื้นที่สีเขียวของประเทศไทยให้ได้ ร้อยละ 55 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า