facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]

ทส. โดย BEDO จัดกิจกรรม “15 ปี BEDO ตำรับเศรษฐกิจชีวภาพชุมชน” มุ่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจฐานราก ตามหลักการ “BEDO-BCG”

19 ก.ค. 65

              วันที่ 19 กรกฎาคม 2565 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน “ชุมชนไม้มีค่า ป่าครอบครัว 2565” ภายใต้แนวคิด “15 ปี BEDO ตำรับเศรษฐกิจชีวภาพชุมชน” เพื่อขยายผลการดำเนินงานตามหลักการ BEDO-BCG รวมทั้งสร้างโอกาสให้ชุมชนได้นำเสนอและจำหน่ายสินค้าและบริการจาก “ชุมชนไม้มีค่า - ป่าครอบครัว” ทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์ในโอกาสวันสถาปนาสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO ครบรอบ 15 ปี โดยมี นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ BEDO ให้การต้อนรับและกล่าวรายงาน ทั้งนี้มีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จาก ทส. ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานกรรมการ BEDO และประธานกรรมการ TGO พร้อมด้วย นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เข้าร่วมงาน และมีกลุ่มเครือข่าย “ชุมชน BEDO กว่า 100 ชุมชน” จากทั่วประเทศ มาร่วมจัดแสดงผลงาน รวมทั้งจำหน่ายสินค้าจากป่าครอบครัว ระหว่างวันที่ 18 - 21 กรกฎาคม 2565 ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น 2 อาคาร B ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

              นายวราวุธ กล่าวว่า ภาครัฐมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจฐานรากที่สำคัญ ซึ่ง BEDO เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่รองรับการขับเคลื่อนภารกิจการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดการบริหารจัดการการนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างโอกาสให้แก่ประชาชน สอดคล้องกับ BCG Model ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ ที่มุ่งเน้น 3 เศรษฐกิจหลัก โดยเรียกรวมว่า หลักการ “BEDO-BCG”

             การจัดงานในครั้งนี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเศรษฐกิจชุมชนตามหลักการ BEDO-BCG เพื่อพัฒนาศักยภาพการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพควบคู่กับการอนุรักษ์ รวมทั้งเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดการนำเสนอ จำหน่ายสินค้าและบริการจาก “ชุมชนไม้มีค่า - ป่าครอบครัว” และยกระดับสินค้าทางการเกษตร พัฒนาสินค้าต่างๆ ในท้องถิ่นให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชนและเป็นแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปได้