facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list
  • 1042

หินจากภูเขาไฟ: อุปกรณ์ดักจับแก๊สเรือนกระจก

22 ก.ค. 59

แก๊สเรือนกระจกเป็นปัญหาหลักของสภาพอากาศที่แปรปรวน แต่เทคนิคใหม่นี้สามารถเปลี่ยนแก๊สเหล่านี้ให้กลายเป็นหินแข็งได้ก่อนที่พวกมันจะลอยเข้าไปในชั้นบรรยากาศ ถ้านำไปใช้กันให้แพร่หลาย อาจจะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้

นักวิจัยในประเทศไอซ์แลนด์ได้ทำการฉีดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปหิน basalt (หินอัคนีพุ) มันเป็นหินชนิดหนึ่งที่เกิดจากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็ว ประมาณสองปีหลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตรวจสอบอีกครั้ง มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของแก๊สได้เปลี่ยนกลายเป็นหิน

การเปลี่ยนให้แก๊สเป็นของแข็งนั้นเป็นการล็อคพวกมันไว้ไม่ให้ออกไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในตอนนี้ แก๊สชนิดนี้ไม่สามารถที่จะคุกคามชั้นบรรยากาศของโลกได้อีกแล้ว กระบวนการนี้อาจจะช่วยลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกบนโลกได้

“มันเยี่ยมมาก” Jeurg Matter กล่าว “มันเป็นอะไรที่ง่ายและรวดเร็วในการเก็บแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาได้อย่างถาวร” เขากล่าวเพิ่มเติม ในฐานะที่เป็นนักธรณีเคมี ซึ่งทำการศึกษาเกี่ยวกับสารประกอบทางเคมีของหินบนโลก และศึกษาว่ามันเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร เขาทำงานให้กับ University of Southampton ในประเทศอังกฤษ

ทีมวิจัยของเขาได้ทำการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ Science เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน

หิน basalt มีความพิเศษอย่างไร

ผู้คนพยายามที่จะทำการเก็บแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในหลายๆวิธีที่แตกต่างกันออกไป หลายๆวิธีทำการปั๊มแก๊สเข้าไปในชั้นหินใต้พื้นดิน แต่บางครั้ง แก๊สเหล่านี้สามารถที่จะรั่วกลับออกมาที่พื้นผิวได้ อย่างไรก็ตาม หินเหล่านั้นไม่เหมือนกับหิน basalt มากกว่าหนึ่งในสี่ของหิน basalt นั้นถูกสร้างขึ้นจากธาตุที่ทำปฏิกิริยากับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งนั้นทำให้พวกมันเปลี่ยนรูปกลายเป็นหินแร่ธาตุได้ เช่นหินปูน

กระบวนการนี้เรียกว่า mineralization (การเปลี่ยนให้เป็นแร่ธาตุ) มันเกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อหิน basalt นั้นสัมผัสกับอากาศที่เป็นอันตราย นักวิจัยคิดว่ากระบวนการนี้ใช้เวลาประมาณ 100 -1000 ปี ซึ่งมันช้าเกินไปที่จะนำไปใช้ประโยชน์กับการต่อสู้สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตอนนี้

สำหรับการทดลองใหม่ของพวกเขา Matter และทีมวิจัยของเขาได้ทำการผสมน้ำใต้ดินกับ 230 ตันของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สที่ได้นั้นถูกปล่อยออกมาจากโรงงานผลิตพลังงานความร้อน การรวมแก๊สนี้เข้าไว้กับน้ำทำให้เกิดของผสมที่มีลักษณะคล้ายกับน้ำอัดโซดา นักวิจัยทำการฉีดของเหลวมีฟองนี้เข้าไปในหิน basalt ที่ลึกลงไปจากพื้นดินประมาณ 400-800 เมตร เมื่อทีมวิจัยทำการสุ่มตัวอย่างหินประมาณสองปีหลังจากนั้น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกือบทั้งหมดถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นแร่ธาตุ

การเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาให้กลายเป็นแร่ธาตุนั้นไม่ได้ถูก มันมีราคาประมาณ 17 ดอลลาห์ต่อตัน ซึ่งนั่นมีราคามากกว่าสองเท่าโดยประมาณของวิธีการเก็บที่มีอยู่ แต่มันไม่ต้องการการตรวจติดตามระยะยาวเพื่อป้องกันการรั่วซึมออกมา ข้อดีอีกอย่างคือ เทคนิคนี้ต้องการเพียงแค่น้ำกับหิน basalt เท่านั้น


ที่มาของบทความ http://www.vcharkarn.com

ที่มาของรูปภาพประกอบ https://th.wikipedia.org