การรวบรวมข้อมูลของโออีซีดีอ้างอิงข้อมูลจากทั้งกองทุนภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศร่ำรวยหรือยากจน สถาบัน วิจัยระดับพหุภาคี และกองทุนภาคเอกชน
กลุ่มประเทศร่ำรวยจัดสรรงบประมาณร่วมกัน 61,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.25 ล้านล้านบาท) เมื่อปีที่แล้ว เพื่อให้ความ ช่วยเหลือกลุ่มประเทศยากจนในการต่อสู้และปฏิรูปนโยบายแก้ไขการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก ซึ่งงบประมาณดังกล่าวมีสัดส่วนคิดเป็น 2 ใน 3 ของเป้าหมายสูงสุด 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ราว 3.65 ล้านล้านบาท) สำหรับโครงการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนเพิ่มอีกระดับหนึ่งภายใน ปี 2573
ข้อมูลข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของราย งานที่จัดทำโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) และ โครงการริเริ่มนโยบายสภาพอากาศซึ่งมีวัตถุ ประสงค์ต้องการแจกแจงให้ประชาคมโลก ได้ทราบว่า กลุ่มประเทศมีฐานะหรือร่ำรวย จะยังสามารถบรรลุเป้าหมายในเรื่องนี้ได้หรือ ไม่ เนื่องจากความร่วมมือจากกลุ่มประเทศเหล่านี้ถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสมัยที่ 21 ของสห ประชาชาติ (ยูเอ็น) ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (ซีโอพี 21) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จะเป็นเจ้าภาพในช่วงปลายเดือน พ.ย. นี้
การรวบรวมข้อมูลของโออีซีดีอ้างอิงข้อมูลจากทั้งกองทุนภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศร่ำรวยหรือยากจน สถาบัน วิจัยระดับพหุภาคี และกองทุนภาคเอกชน ที่บริจาคให้แก่สำนักเลขาธิการด้านการเปลี่ยน แปลงภูมิอากาศของยูเอ็น อย่างไรก็ตาม การที่ยูเอ็นกลับยังขาดระบบสำหรับจัดระเบียบกองทุนส่วนนี้อย่างชัดเจน สร้างความกังวล ให้แก่หลายฝ่าย ซึ่งนายมิเชล ซาแปง รมว.การคลังของฝรั่งเศส กล่าวว่าเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ยูเอ็นต้องมีระบบที่ตรวจสอบได้ ในเรื่องดังกล่าว เพื่อสร้างความไว้วางใจระหว่างบรรดาประเทศสมาชิก และจากองค์กรสาธารณะแห่งอื่นด้วย
ขณะที่นายอัมจัด อับดุลเลาะห์ หัว หน้าคณะผู้แทนเจรจาเรื่องสภาพอากาศของ มัลดีฟส์ กล่าวว่าจำนวนเงินที่บริจาคเข้ามายังถือว่าน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ “ไม่ปกติ” อีกต่อไปทั้งนี้ สถิติระหว่างปี 2556-2557 ระบุว่ากลุ่มประเทศร่ำรวยบริจาคเงินในส่วนนี้รวมกัน 57,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.08 ล้านล้านบาท ) โดยในจำนวนดังกล่าวราวร้อยละ 71 มาจากกองทุนสาธารณะ ร้อยละ 26 มาจากภาคเอกชน และร้อยละ 3 มาจากสินเชื่อเพื่อการส่งออก ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของเงินทั้งหมดเป็นการสนับสนุนโครงการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนในกลุ่มประเทศ กำลังพัฒนา และมีการจัดสรรเงินเพียงร้อยละ 16 ไปกับการให้ความช่วยเหลือภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติ เช่นน้ำท่วม ภัยแล้ง และแผ่นดินไหว
นายจิม ยอง คิม ประธานธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เผยหลังเสร็จสิ้นการประชุมประจำปีร่วมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่กรุงลิมา ประเทศ เปรู เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าสถาบันการเงินของประเทศสมาชิกบรรลุข้อตกลงร่วมกัน ว่า ด้วยการจัดสรรงบประมาณร่วมต่อสู้กับภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกเพิ่มเป็น 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ราว 534,000 ล้านบาท) เรื่อยไปจนถึงปี 2563
ทั้งนี้ เงินจำนวนดังกล่าวส่วนหนึ่งจะมาจากการจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นอีก ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ธนาคารลงทุนยุโรป (อีไอบี) และธนาคารพัฒนาระหว่างอเมริกา (ไอเอดีบี) โดยอีไอบีเตรียมเพิ่มงบประมาณเพื่อเข้าร่วมทุนเพิ่มเป็นร้อยละ 35 จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 25 การเพิ่มงบประมาณขึ้นอีกร้อยละ 28 หรือ 1 ใน 3 ของระดับปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ปีละ 10,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ราว 366,680 ล้านบาท) จะช่วย ให้ประชาคมโลกสามารถบรรลุเป้าหมายที่ ตั้งไว้ร่วมกันคือการระดมทุนให้ได้ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.65 ล้านล้านบาท) ภายในอีก 15 ปี ข้างหน้า
นอกจากนี้ รัฐบาลอังกฤษยังประกาศเตรียมจัดสรรงบประมาณของตัวเองใน ส่วนนี้เพิ่มอีกระหว่างปี 2559-2564 และ จีนเตรียมเพิ่มเงินอุดหนุนในส่วนนี้อีก 3,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 113,150 ล้านบาท) ด้วย.
ที่มาของบทความ: http://www.dailynews.co.th
ที่มาของรูปภาพประกอบ: https://www.google.co.th