facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
banner_list
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]
  • [image_name]

TGO ขยายผลเพื่อทดสอบและปรับปรุง “ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย” มุ่งสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำในภาคอุตสาหกรรม

13 ส.ค. 63

กรุงเทพฯ : เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคมที่ผ่านมา องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO จัดการสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษา “โครงการทดสอบและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานสำหรับระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Trading Scheme: Thailand V-ETS)”

                โดย ดร. พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กล่าวต้อนรับและมอบเกียรติบัตรแสดงความขอบคุณกับโรงงานที่เข้าร่วมโครงการฯ จากสาขาอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม น้ำตาล สิ่งทอ แก้วและกระจก จำนวน ๑๕ แห่ง พร้อมทั้งบรรยายเรื่องการพัฒนากลไกเชิงเศรษฐศาสตร์ให้ภาคเอกชนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย โดยมีผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ทั้งจากรัฐและเอกชนเข้าร่วมงานจำนวน ๕๙ ท่าน ณ โรงแรมพูลแมน คิงพาวเวอร์ กรุงเทพฯ
                โครงการ Thailand V-ETS ดำเนินการโดย TGO ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเตรียมความพร้อมภาคอุตสาหกรรมในการเรียนรู้วิธีการดำเนินงานของระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนระบบการตรวจวัด รายงาน ทวนสอบ รวมถึงกฎการดำเนินงานและปฎิทินการดำเนินงานของระบบฯ ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
                ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง ๑๕ แห่ง ร่วมทดสอบและปรับปรุงแนวทางในการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ผลการดำเนินกิจกรรมก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างหน่วยงานรัฐ ภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานทวนสอบซึ่งเป็นองค์กรอิสระทั้งจากภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้และข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการกำหนดแนวทางขับเคลื่อนนโยบายในการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยกลไกเชิงเศรษฐศาสตร์ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่การเตรียมความพร้อมและเกิดการพัฒนาแนวทางการติดตามและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายสาขาอุตสาหกรรม (Sector-specific MRV guidelines) และการรับรองระบบงานด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรภายใต้ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสาขาอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ
                ภายในงานยังมีการเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมอง ในหัวข้อ “ชูแนวคิด Cap and Trade เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม” โดย นางสาวอโณทัย สังข์ทอง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมตลาดคาร์บอนและนวัตกรรม และผู้แทนองค์กรนำร่องสาขาอุตสาหกรรม น้ำตาล สิ่งทอ เครื่องดื่ม และกระจก