วันที่ 10 กันยายน 2564 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกล่าวเปิดงานเสวนา “คาร์บอนเครดิตจากการปลูกและดูแลป่า แนวทางการดำเนินงานและการแบ่งปัน กรณีดำเนินโครงการในพื้นที่ของภาครัฐ” ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ ซึ่งจัดโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO กรมป่าไม้ (ปม.) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทุกภาคส่วนจะได้ประสานพลังความร่วมมือเพื่อลดภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตจากการปลูกและดูแลป่าในพื้นที่ของภาครัฐ
วันที่ 10 กันยายน 2564 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกล่าวเปิดงานเสวนา “คาร์บอนเครดิตจากการปลูกและดูแลป่า แนวทางการดำเนินงานและการแบ่งปัน กรณีดำเนินโครงการในพื้นที่ของภาครัฐ” ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ ซึ่งจัดโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO กรมป่าไม้ (ปม.) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทุกภาคส่วนจะได้ประสานพลังความร่วมมือเพื่อลดภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตจากการปลูกและดูแลป่าในพื้นที่ของภาครัฐ
งานเสวนาคาร์บอนเครดิตจากการปลูกและดูแลป่าในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ร่วมบรรยายให้หัวข้อ “โลกร้อน คาร์บอนเครดิต : แนวโน้ม ทิศทาง อนาคต” นายอดิศร นุชดำรงค์ อธิบดีกรมป่าไม้ ร่วมบรรยายในหัวข้อ “คาร์บอนเครดิตจากการปลูกป่าในพื้นที่กรมป่าไม้ ภาคเอกชนทำได้จริงหรือ” และ นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บรรยายในหัวข้อเรื่อง “ปลูกป่าชายเลน อย่างไร ให้ได้คาร์บอนเครดิต”
โดยองค์กรภาคเอกชนที่เข้าร่วมปลูกป่าในพื้นที่ของ ปม. และ ทช. จะได้รับการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตในอัตราร้อยละ 90 และหน่วยงานเจ้าของพื้นที่จะได้รับในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อย 10 จากปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ TGO ให้การรับรอง ซึ่งนับได้ว่าประกาศระเบียบของทั้งสองหน่วยที่มีออกมานั้นเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยผลักดันและสร้างแรงจูงใจให้กับภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกป่า ดูแลรักษาป่าของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงจูงใจจากคาร์บอนเครดิตที่ภาคเอกชนจะสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมการชดเชยคาร์บอน การแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต หรือใช้ในการรายงานตัวชี้วัดดัชนีด้านความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจ เป็นต้น