facebook
icon telephoneCall Center02-141-9790
ค้นหา
icon switch languageภาษา
ขนาดตัวอักษร
การแสดงผล
icon line icon youtube icon tiktok
Banner-PMR-01-01

 

Partnership for Market Readiness: PMR

               PMR เป็นโครงการที่ให้การสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิคเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ประเทศผู้เข้าร่วมโครงการในการเตรียมความพร้อมด้านกลไกตลาดและการดำเนินการใช้เครื่องมือทางการตลาด เช่น ระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก และกลไกคาร์บอนเครดิตใหม่ๆ โดยประเทศผู้เข้าร่วมโครงการสามารถกำหนดและเสนอกิจกรรมที่ต้องการดำเนินการภายใต้โครงการนี้ได้ซึ่งอาจแตกต่างกันตามแต่บริบทของแต่ละประเทศ บางประเทศอาจเสนอการเตรียมความพร้อม เช่น ระบบการติดตาม การรายงานและการทวนสอบ (Monitoring, Reporting and Verification: MRV) การเก็บข้อมูล การกำหนดกรณีฐาน และการจัดตั้งหน่วยงานด้านกฎฏหมาย ในขณะที่บางประเทศอาจดำเนินโครงการนำร่องในการใช้กลไกตลาดใหม่ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ การเสริมสร้างศักยภาพในการเตรียมความพร้อมด้านกลไกตลาดนี้จะช่วยสนับสนุนนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศเพื่อมุ่งไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก


ความก้าวหน้าการดำเนินงานของประเทศไทย

ข้อมูลโครงการ PMR

PMR เป็นโครงการที่ให้การสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิคเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ประเทศผู้เข้าร่วมโครงการในการเตรียมความพร้อมด้านกลไกตลาดและการดำเนินการใช้เครื่องมือทางการตลาด เช่น ระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก และกลไกคาร์บอนเครดิตใหม่ๆ โดยประเทศผู้เข้าร่วมโครงการสามารถกำหนดและเสนอกิจกรรมที่ต้องการดำเนินการภายใต้โครงการนี้ได้ซึ่งอาจแตกต่างกันตามแต่บริบทของแต่ละประเทศ บางประเทศอาจเสนอการเตรียมความพร้อม เช่น ระบบการติดตาม การรายงานและการทวนสอบ (Monitoring, Reporting and Verification: MRV) การเก็บข้อมูล การกำหนดกรณีฐาน และการจัดตั้งหน่วยงานด้านกฎฏหมาย ในขณะที่บางประเทศอาจดำเนินโครงการนำร่องในการใช้กลไกตลาดใหม่ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ การเสริมสร้างศักยภาพในการเตรียมความพร้อมด้านกลไกตลาดนี้จะช่วยสนับสนุนนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศเพื่อมุ่งไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก
  • ความเป็นมา

              ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา นานาประเทศได้ตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเรียกร้องให้ทุกประเทศมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้ จะต้องมีการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้น Market mechanism หรือกลไกตลาดจะเป็นกลไกที่สำคัญในการสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก
          ธนาคารโลกจึงได้มีการพัฒนา โครงการเตรียมความพร้อมด้านกลไกตลาด (Partnership for Market Readiness: PMR) เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 16 (พ.ศ. 2553) ณ เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้

    1. ให้เงินสนับสนุนในการเตรียมความพร้อมด้านกลไกตลาด
    2. ทำโครงการนำร่องและทดสอบเครื่องมือทางการตลาดใหม่ เช่น การซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Domestic Emission Trading Scheme: ETS) และการใช้กลไกคาร์บอนเครดิตใหม่ๆ (New Crediting Mechanism)
    3. เป็นเวทีในการอภิปรายด้านเทคนิคสำหรับเครื่องมือทางการตลาดใหม่ๆ
    4. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
  • ประเทศสมาชิก

    PMR ประกอบด้วยประเทศในกลุ่มต่าง ๆ 3 กลุ่ม ดังนี้

    1. ประเทศที่ให้การสนับสนุนทางการเงินต่อกองทุน (PMR Trust Fund)
    2. ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ
    3. ประเทศ / รัฐที่เข้าร่วมด้านวิชาการ
    ประเทศที่ให้การสนับสนุน
    ทางการเงิน (13 ประเทศ)
    Australia
    European Commission
    Denmark
    Finland
    Germany
    Japan
    The Netherlands
    Norway
    Sweden
    Switzerland
    United Kingdom
    United States
    Spain
    ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ
    (19 ประเทศ)
    (Implementing Country participants)
    Brazil
    Chile
    Colombia
    Costa Rica
    Mexico
    China
    India
    Indonesia
    Tunisia

    Argentina

    Thailand
    Vietnam
    Jordan
    Morocco
    South Africa
    Turkey
    Ukraine
    Peru
    Sri Lanka
    ประเทศ/รัฐที่เข้าร่วมด้านวิชาการ 
    (Technical Partners)
    ประเทศ Kazakhstan
    รัฐ California
    รัฐ Québec
    รัฐ Alberta
     

    สถานภาพการดำเนินโครงการ PMR

    จากข้อมูลสถานการณ์การดำเนินโครงการ PMR พบว่า

    • ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ 19 ประเทศ มีประเทศที่ได้รับการเห็นชอบข้อเสนอโครงการ (MRP) แล้ว 15 ประเทศ
    • ปัจจุบันมีการลงนามเอกสารข้อตกลงรับเงินสนับสนุน (Grant Agreement) และเริ่มดำเนินโครงการแล้ว จำนวน 12 ประเทศ ได้แก่ บราซิล ชิลี จีน คอสตาริกา โมร็อคโค ไทย ตุรกี ยูเครน จอร์แดน อินโดนีเซีย เปรู และแอฟริกาใต้

    ปรเทศสมาชิก

    PMR ประกอบด้วยประเทศในกลุ่มต่างๆ 3 กลุ่ม ดังนี้

    1. ประเทศที่ให้การสนับสนุนทางการเงินต่อกองทุน (PMR Trust Fund)
    2. ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ
    3. ประเทศ/รัฐ ที่เข้าร่วมด้านวิชาการ
    ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ การพิจารณากรอบ การดำเนินงาน การนำเสนอร่างข้อเสนอโครงการ การพิจารณาเห็นชอบข้อเสนอโครงการ วงเงินที่ได้รับการสนับสนุน (เหรียญสหรัฐ) การดำเนินโครงการ
    อาร์เจนตินา PA15        
    บราซิล PA3 PA9 Electronic 3,000,000 พ.ค. 2015
    ชิลี PA1 PA4 PA5 3,000,000  ก.ย. . 2014
    จีน PA1 PA4 PA5 8,000,000  พ.ค. .2014
    โคลอมเบีย PA1 PA8 PA9 3,000,000  
    คอสตาริกา PA1 PA4 PA5 3,000,000 ก.ย. .2015
    อินเดีย PA3 PA15      
    อินโดนีเซีย PA1 PA6 PA7 3,000,000 ต.ค. 2016
    จอร์แดน PA3 PA13 PA14 3,000,000 พ.ค. 2016
    เม็กซิโก PA1 PA4 PA5 3,000,000  
    โมร็อคโค EX MTG [1] PA8 PA9 3,000,000 ก.ค. 2015
    เปรู PA5 PA13 PA14 3,000,000 ต.ค. 2016
    แอฟริกาใต้ PA3 PA10 PA11 5,000,000 มี.ค. 2017
    ศรีลังกา PA14        
    ไทย PA1 PA7 PA8 3,000,000 ก.พ. 2016
    ตูนีเซีย PA8        
    ตุรกี PA1 PA5 PA6 3,000,000, ธ.ค. 2013
    ยูเครน PA2 PA9 Electronic 3,000,000 เม.ย. 2016
    เวียดนาม PA3 PA9 PA10 3,000,000  
    รวม 19 16 15 53,000,000 12

     


    [1] EX MTG หมายถึง Extraordinary Meeting จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 มีนาคม 2555 ณ เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน 

    ข้อมูล ณ วันที่ 7 มีนาคม 2560

               

การดำเนินงาน

การดำเนินงาน
ข้อเสนอโครงการของประเทศไทย
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
การดำเนินงานของประเทศไทย

การดำเนินงาน

               ในส่วนของประเทศไทยได้มีการดำเนินการภายใต้โครงการ PMR ดังนี้

          1. ธนาคารโลกได้เชิญชวนให้ประเทศที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการจัดส่งข้อเสนอให้ธนาคารโลกพิจารณาให้การสนับสนุน อบก. ในฐานะหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ พิจารณาแล้วเห็นว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศเพิ่มขึ้น จึงได้แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยได้จัดส่งเอกสารแสดงเจตจำนง (Expression of Interest: EoI) ให้กับธนาคารโลก เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2554 จากนั้น อบก. ได้นำเสนอกรอบการดำเนินกิจกรรมโครงการในการประชุม ณ เมืองบาร์เซโลนา ราชอาณาจักรสเปน เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมโดยอนุมัติเงินสนับสนุน จำนวน 350,000 เหรียญสหรัฐ ให้กับประเทศไทยเพื่อใช้ในขั้นตอนการเตรียมการ ซึ่งประกอบด้วย การจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการและข้อเสนอทางการเงิน (MRP) รวมทั้งการนำเสนอข้อเสนอโครงการต่อที่ประชุม PA เพื่อขอทุนดำเนินกิจกรรมในขั้นตอนการดำเนินการต่อไป

          2. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อข้อตกลงรับความช่วยเหลือแบบให้เปล่า (Grant Agreement) จากธนาคารโลกโครงการ Market Readiness Proposal Partnership for Market Readiness (PMR) Multi-Donor Trust Fund เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 และได้มีการลงนามในข้อตกลงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2556 โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการลงนาม

          3. อบก. ได้ทำบันทึกข้อตกลง (MoU) ร่วมกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 ในการร่วมมือดำเนินกิจกรรมต่างๆภายใต้ “โครงการพัฒนาการลดก๊าซเรือนกระจกในอาคารควบคุมและโรงงานควบคุมโดยใช้กลไกตลาด Energy Performance Certificate Scheme (EPC)”

          4. ภายใต้โครงการ PMR อบก. จะดำเนินการพัฒนากลไกตลาด 2 กลไก ได้แก่ Energy Performance Certificate scheme (EPC) และ Low Carbon City program (LCC) เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกแบบสมัครใจในประเทศไทย เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานต่างๆ คณะกรรมการ อบก. ในการประชุมครั้งที่ 9/2556 จึงได้มีการแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการพัฒนาความพร้อมด้านกลไกตลาดเพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก” ลงวันที่ 16 กันยายน 2556 ทั้งนี้คณะอนุกรรมการโครงการฯประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 16 หน่วยงาน นอกจากนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานกลไกส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจก (เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานกลไก EPC) และคณะทำงานกลไกส่งเสริมการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ (เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานกลไก LCC)  รวมทั้งมอบหมายให้คณะทำงานกฎหมาย ซึ่ง อบก.ได้แต่งตั้งอยู่ก่อนแล้ว ทำหน้าที่ดูแลงานด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโครงการ PMR เพิ่มเติมด้วย

          5. อบก. ได้ดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาที่มีความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโครงการภายใต้กรอบการดำเนินงานที่ อบก.เสนอต่อธนาคารโลก ซึ่งได้ผ่านการคัดเลือกตามระเบียบวิธีการของธนาคารโลกเพื่อมาจัดทำร่างข้อเสนอโครงการ ตามขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ PMR หลังจากการจัดทำ (ร่าง) เอกสารข้อเสนอโครงการ และส่งให้ฝ่ายเลขานุการ PMR แล้ว (ร่าง) เอกสารข้อเสนอโครงการจะถูกพิจารณาเพื่อให้ข้อคิดเห็นโดยฝ่ายเลขานุการ PMR และผู้เชี่ยวชาญที่ฝ่ายเลขานุการว่าจ้างมาโดยจะเป็นการประชุมหารือร่วมกันกับประเทศที่ดำเนินโครงการ (Country Visit) ซึ่งขั้นตอนนี้ได้ดำเนินการเมื่อวันที่ 19-20 กันยายน 2556 จากนั้น อบก. ได้มีการปรับแก้เอกสารตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

          6. อบก. ได้จัดส่ง (ร่าง) เอกสารข้อเสนอโครงการ (Draft MRP) ต่อสำนักเลขานุการ PMR  เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2556 และนำเสนอ (ร่าง) เอกสารข้อเสนอโครงการต่อที่ประชุม PA ครั้งที่ 7 ในเดือนตุลาคม 2556 ณ เมืองมาราเกช ประเทศโมร็อคโค ทั้งนี้ ที่ประชุมและผู้เชี่ยวชาญได้มีข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับแก้เอกสารข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ก่อนการนำเสนออีกครั้งในเดือนมีนาคม 2557

          7. อบก. ได้นำเสนอเอกสารข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ต่อที่ประชุม PA ครั้งที่ 8 ในเดือนมีนาคม 2557 ณ เมืองเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม PA และได้รับการสนับสนุนเงินจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อมาดำเนินกิจกรรมต่างๆใน 4 ส่วนหลัก ดังนี้

           7.1 การศึกษาและการเสนอกรอบโครงสร้างทางด้านกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการในรูปแบบ Emission Trading Scheme (ETS)

           7.2 การเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินการกลไก Energy Performance Certificate scheme (EPC) ซึ่งจะเน้นในการจัดการข้อมูลด้านพลังงาน และการพัฒนาระบบ MRV

           7.3 การเตรียมความพร้อมของ Low Carbon City program (LCC) การศึกษาศักยภาพในการลด ก๊าซเรือนกระจกและการจัดทำแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของเทศบาล

           7.4 การศึกษาการกำหนดราคาของคาร์บอนเครดิตที่เกิดขึ้นจาก LCC program และมาตรการจูงใจสำหรับผู้ซื้อเครดิตจาก LCC program

               กลไกตลาดที่ อบก. เสนอเพื่อดำเนินการภายใต้โครงการ PMR ประกอบด้วย 2 กลไก ได้แก่ 1) Energy Performance Certificate Scheme (EPC) เป็นแผนงานส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารควบคุมและโรงงานควบคุม และ 2) Low Carbon City Program (LCC) เป็นการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon City) ของเทศบาลและชุมชน ซึ่งกลไกทั้งสองมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเป้าหมายของกระทรวงพลังงาน ได้แก่ แผนอนุรักษ์พลังงาน และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก

               การพัฒนาและการดำเนินกลไก EPC scheme และ LCC program จะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาระบบตลาดคาร์บอนในประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกในอนาคต ดังรูป

 

ความเชื่อมโยงของกลไก EPC scheme และ LCC program กับตลาดคาร์บอนภายในประเทศในอนาคต

          8. อบก. ได้เตรียมเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อการลงนามเอกสารข้อตกลงรับการสนับสนุนทางการเงิน ได้แก่ แผนการดำเนินการ แผนการจัดซื้อจัดจ้าง แผนการเบิกจ่าย ตามขั้นตอนของธนาคารโลก และได้จัดส่งเอกสารให้ทางธนาคารโลก จากนั้นธนาคารโลกได้ร่างเอกสารข้อตกลง (Draft Grant Agreement) และนำมาพิจารณาร่วมกันระหว่างธนาคารโลก สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และ อบก.

               ขณะนี้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะอยู่ระหว่างการเตรียมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้การเห็นชอบ ในการลงนามข้อตกลงการรับเงินสนับสนุนต่อไป


^กลับสู่ด้านบน^


ข้อเสนอโครงการของประเทศไทย

     
อบก. ได้นำเสนอเอกสารข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ต่อที่ประชุม PA ครั้งที่ 8 ในเดือนมีนาคม 2557 ณ เมืองเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม PA ได้รับการสนับสนุนเงินจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อมาดำเนินกิจกรรมต่างๆตามที่เสนอในเอกสารข้อเสนอโครงการ (MRP)

      โดยมีการประชุมประเมินโครงการและหารือระหว่างธนาคารโลก และ อบก. (Appraisal mission) ในประเด็นด้านเทคนิค การเงิน Safeguards และประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ ช่วงระหว่างวันที่ 11 กันยายน- 6 ตุลาคม 2557 โดยที่ประชุมได้เห็นชอบต่อวัตถุประสงค์โครงการ (Project Development Objectives: PDO) ตัวชี้วัดโครงการ (PDO Level Result Indicators) และกิจกรรมภายใต้โครงการ รายละเอียดดังตาราง

 

รายละเอียด

วัตถุประสงค์

เพื่อสนับสนุนการศึกษาและการวิเคราะห์ในด้านวิชาการเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนาความพร้อมเครื่องมือทางการตลาดเพื่อการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย

ตัวชี้วัดของโครงการ

1. การพัฒนาและเสนอองค์ประกอบหลักของ Energy Performance Certificate scheme อันได้แก่ วิธีการกำหนดเป้าหมาย และระบบ MRV ต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเพื่อการพิจารณาเชิงนโยบาย
2. การเสนอแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของ 24 เมือง (เทศบาล) ต่อผู้บริหารเมือง
3. การเสนอกรอบด้านกฎหมายและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับการดำเนินกลไก Emission Trading Scheme ต่อคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

กิจกรรม

ภายใต้โครงการ PMR อบก. จะดำเนินการใน 4 องค์ประหลัก ได้แก่
องค์ประกอบที่ 1: การเตียมการเกี่ยวกับองค์ประกอบหลักด้านการตลาดภาคสมัครใจสำหรับกลไก EPC  scheme

  1. การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม การจัดการด้านข้อมูล
  2. การศึกษาค่าตัวชี้วัดประสิทธิภาพพลังงาน (Specific Energy Consumption: SEC) ของอุตสาหกรรมและอาคารประเภทต่างๆ
  3. การศึกษาศักยภาพการลดการใช้พลังงาน และการลดก๊าซเรือนกระจก
  4. การศึกษาและพัฒนาระบบการตรวจวัด การรายงานและการทวนสอบ (MRV)
  5. การทวนสอบข้อมูล และการกำหนด Baseline
  6. การศึกษาการตั้งเป้าหมายการลดการใช้พลังงาน
  7. การศึกษาการกำหนดราคาใบอนุญาตการใช้พลังงาน และมาตรการจูงใจในการเข้าร่วมโครงการ
  8. การพัฒนาระบบทะเบียน การศึกษากรอบโครงสร้างเชิงสถาบัน การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย แนวทางการแจกใบอนุญาต และการสร้างผู้ทวนสอบ

องค์ประกอบที่ 2: การพัฒนาแผนศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกและการศึกษาราคาของคาร์บอนเครดิตในภาคเมืองและการพัฒนากองทุนสำหรับเมืองคาร์บอนต่ำ

  1. การศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจก และการจัดทำแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของเทศบาล 24 แห่ง
  2. การศึกษาด้านราคาคาร์บอนเครดิต และมาตรการจูงใจในการซื้อคาร์บอนเครดิต
  3. การพัฒนาระบบ MRV และระบบทะเบียน
  4. การจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการ

องค์ประกอบที่ 3: การศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับกรอบข้อกฎหมายในการพัฒนาระบบการซื้อขายปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading Scheme: ETS)

  1. การศึกษาเพื่อเสนอกรอบโครงสร้างทางด้านกฎหมายสำหรับการจัดตั้ง ETS ในประเทศไทย โดยมีการรวบรวมข้อมูลและมีการพิจารณาจากระบบ ETS ของประเทศอื่นๆ
  2.  การจัดทำร่างข้อเสนอแนวทางการบริหารระบบ ETS ในประเทศไทย

องค์ประกอบที่ 4: การบริหารจัดการโครงการ

  1. การบริหารจัดการโครงการ
  2. การพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้บุคลากร
  3. การประชุมหารือร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

      จากการหารือร่วมกับธนาคารโลกในช่วงประเมินโครงการ (Appraisal mission) และการจัดทำเอกสารโครงการ (Project paper) ได้มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมและรายละเอียดของกิจกรรมใน 2 ประเด็นหลัก ดังนี้

หัวข้อ

รายละเอียด

องค์ประกอบที่ 1 (EPC)

ได้มีการสลับเปลี่ยนกิจกรรม 1 กิจกรรม จากเดิมที่เป็นการดำเนินงานโดยงบประมาณไทยเป็นงบสนับสนุนจาก PMR เนื่องจากธนาคารโลกพิจารณาเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญมากต่อกลไก EPC ได้แก่ การศึกษาวิธีการตั้งเป้าหมาย และค่าเป้าหมายการใช้พลังงานของอุตสาหกรรมและอาคารประเภทต่างๆ
ในขณะที่กิจกรรมการการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานและผู้ตรวจสอบด้านพลังงาน รวมทั้งการพัฒนาคู่มือแนวทางการกรอกข้อมูลและการทวนสอบเปลี่ยนจากการสนับสนุนโดย PMR เป็นการดำเนินงานโดยประเทศ

องค์ประกอบที่ 2 (LCC)

ปรับลดจำนวนเทศบาลเป้าหมายจากเดิม 32 เทศบาล เป็น 24 เทศบาล เนื่องจากได้มีการพิจารณาถึงระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด และเพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่มีคุณภาพ และลงลึกในรายละเอียด

   ข้อเสนอโครงการของประเทศไทย (FINAL MRP THAILAND)


^กลับสู่ด้านบน^

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. แสดงเจตจำนงเข้าร่วมโครงการ
         ประเทศผู้สนใจเข้าร่วมโครงการส่งเอกสารแสดงเจตจำนงเข้าร่วมต่อเลขานุการ PMR  จากนั้นนำเสนอกรอบการดำเนินการต่อที่ประชุม Partnership Assembly (PA) เพื่อพิจารณาอนุมัติเงินสนับสนุนสำหรับช่วงเตรียมการ
  2. ระยะเตรียมการ
         PA จะอนุมัติเงินให้แก่ประเทศผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 350,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อมาดำเนินการจัดเตรียมเอกสารข้อเสนอโครงการ (Market Readiness Proposal: MRP) ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดแผนการดำเนินงานการเตรียมความพร้อมด้านกลไกตลาด และข้อเสนอทางการเงินเพื่อใช้ในขั้นตอนการดำเนินการต่อไป
  3. ระยะดำเนินการ
         ประเทศผู้เข้าร่วมโครงการต้องดำเนินการตามเอกสารข้อเสนอโครงการ (MRP) ซึ่งรวมถึงการใช้เครื่องมือทางการตลาดตามข้อเสนอ

^กลับสู่ด้านบน^

การดำเนินงานของประเทศไทย

  • อบก. ได้นำเสนอเอกสารข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ต่อที่ประชุม PA ครั้งที่ 8 ในเดือนมีนาคม 2557 ณ เมืองเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม PA ได้รับการสนับสนุนเงินจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อมาดำเนินกิจกรรมต่างๆตามที่เสนอในเอกสารข้อเสนอโครงการ (MRP)

            

  • อบก. ได้จัดส่งแผนการจัดซื้อจัดจ้าง(Procurement plan) ให้ธนาคารโลกพิจารณาและได้รับความเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2557
  • มีการลงนามหนังสือตกลงรับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในเดือนมกราคม 2559 และมีการลงนามโดยกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559

  • เนื่องจากได้รับการลงนามหนังสือตกลงรับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในเดือนมกราคม 2559 และมีการลงนามโดยกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 ทำให้ต้องมีการปรับแก้แผนการจัดซื้อจัดจ้างและเสนอต่อธนาคารโลกอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้รับความเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2559 โดยมีการจัดจ้างที่ปรึกษา (Consulting Services: CS) ทั้งหมด 10 ToR รายละเอียดแต่ละ ToR และความก้าวหน้าในการดำเนินการ ดังนี้
Reference No. Description
CS-5 Study to propose the legal framework for establishing the ETS in Thailand
CS-6 Study on provisions of present Law and amendments required for EPC scheme
CS-7 Development of MRV system for EPC
CS-8 Assessment of the D F&Bs energy management system and updating SEC for 11 sectors
CS-9 Energy data verification of selected D F&Bs
CS-10 Target setting for EPC scheme
CS-11 Study on GHG emission and identify potential GHG emission reduction. Develop local GHG abatement plans in 8 municipalities (Region 1)
CS-12 Study on GHG emission and identify potential GHG emission reduction. Develop local GHG abatement plans in 8 municipalities (Region 2)
CS-13 Study on GHG emission and identify potential GHG emission reduction. Develop local GHG abatement plans in 8 municipalities (Region 3). Develop GHG abatement plan guideline that include environmental and social management framework
CS-14 Study on pricing mechanism for EPC unit, LCC TVERs, source of fund and incentive options for LCC TVERs buyer
CS-15 การพัฒนาแอพพิเคชั่นมือถือ LCC
CS-16 การพัฒนาแอพพิเคชั่นมือถือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

^กลับสู่ด้านบน^

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ

  1. มีกลไกตลาดที่ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานในเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคพลังงาน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนแผนการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานของประเทศให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ และกลไก LCC ซึ่งจะไปสนับสนุนนโยบายการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
  2. เทศบาลที่เข้าร่วมโครงการมีข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจก และแผนการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมที่โครงการเข้าไปสนับสนุน และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเทศบาลนั้นๆต่อไป และสามารถนำไปสู่การขยายผลให้แก่เทศบาลอื่นๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศในระยะยาว
  3. มีการเตรียมความพร้อมให้กับทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคอาคารและภาคชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมของประเทศ
  4. มีแนวทางด้านกฎหมายที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายของประเทศ หากประเทศไทยจะต้องมีมาตรการบังคับในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020)
  5. มีแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ

กลไกของประเทศต่างๆ

กิจกรรมหรือกลไกที่จะมีการดำเนินการของประเทศต่าง ๆ ตามเอกสารข้อเสนอโครงการ

ประเทศ กิจกรรมที่จะดำเนินการ


เปรู

  • การศึกษาความต้องการในการเตรียมความพร้อมและการสร้างศักยภาพและองค์ความรู้ในเรื่องของ NAMAs เพื่อเลือกรายสาขาที่เหมาะสมในการดำเนินการใช้เครื่องมือทางการตลาด โดยขณะนี้มีกลุ่มเป้าหมาย 3 รายการสาขา ได้แก่ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ การ จัดการของเสีย และโครงการ PV panel
  • พัฒนาความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการดำเนินการนำร่อง ได้แก่ กรอบโครงสร้างทางกฎหมาย ระบบทะเบียน ระบบ MRV การออกแบบกรอบการประเมินกิจกรรมที่เหมาะสม และการพัฒนาผู้ทวนสอบ
จีน
จีน
  • ออกแบบและเตรียมความพร้อมสำหรับระบบการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (ETS) โดยจะดำเนินการศึกษาเรื่อง การกำหนดเป้าหมาย การแจกใบอนุญาต การ MRV กลไกราคาและตลาด และกรอบโครงสร้างด้านกฎหมาย
  • การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเพื่อรวมในระบบ ETS ของประเทศ โดยมุ่งเน้นภาคการผลิตไฟฟ้า และรัฐวิสาหกิจ

ชิลี
ชิลี

  • ออกแบบและเตรียมความพร้อมสำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดราคาคาร์บอน เช่น การเก็บภาษีคาร์บอน
  • สร้างขีดความสามารถทั้งในภาครัฐและเอกชนสำหรับการออกแบบและดำเนินงานภายใต้กรอบการตรวจวัด รายงานผลและทวนสอบ (MRV) ระบบทะเบียน และเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดราคาคาร์บอน

บราซิล
บราซิล

  • สำรวจตัวเลือกต่างๆที่ใช้ในการกำหนดราคาคาร์บอน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินงาน
  • พัฒนาศักยภาพในการใช้แบบจำลอง และดำเนินการวิเคราะห์การเก็บภาษีคาร์บอน

โคลอมเบีย
โคลอมเบีย

  • พัฒนาการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (NAMAs) ในภาคการขนส่ง กิจกรรมชดเชยคาร์บอนในประเทศ และเตรียมการเพื่อรองรับการนำมาตรฐานประสิทธิภาพของยานพาหนะมาใช้

อินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย

  • สำรวจตัวเลือกที่เหมาะสมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเครื่องมือทางการตลาดในประเทศ
  • นำร่องการดำเนินการตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบ (MRV) ในโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

จอร์แดน
จอร์แดน

  • สำรวจแนวทางการดำเนินการ Scaled-up crediting NAMAs ในภาคพลังงานหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการจัดการน้ำเสีย/ของเสีย
  • พัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้สำหรับการจัดเก็บข้อมูล, การกำหนด Baseline และระบบการตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบ (MRV)

สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้

  • ดำเนินการวิเคราะห์และออกแบบระบบการเก็บภาษีคาร์บอน ควบคู่กับการดำเนินงานของกิจกรรมชดเชยคาร์บอน
  • พัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้เรื่องการตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบ (MRV)

ตูนีเซีย
ตูนีเซีย

  • พัฒนากลไก crediting ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และไฟฟ้า โดยจะดำเนินการนำร่องอย่างน้อย 1 อุตสาหกรรม
  • พัฒนาระบบทะเบียนในส่วนของการลดก๊าซเรือนกระจกและแหล่งเงินทุน

10_turkey
ตุรกี

  • นำร่องการใช้ระบบการตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบ (MRV) อย่างเต็มรูปแบบตามที่กำหนดในกฎหมาย MRV
  • จัดเตรียมและวางแผนการดำเนินงานระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ETS)

อินเดีย
อินเดีย

  • สร้างระบบการจัดการข้อมูลก๊าซเรือนกระจกแบบบูรณาการ และพัฒนาแผนงานส่งเสริมระบบพลังงานทดแทนแบบ off-grid (Off-grid Renewable Energy Certificate program: REC)
  • ขยายขอบเขตของระบบ Perform Achieve and Trade (PAT) ให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมต่างๆมากยิ่งขึ้น

12_costarica
คอสตาริกา

  • ออกแบบและพัฒนาตลาดคาร์บอนในประเทศ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานของตลาดภายในประเทศ

เม็กซิโก
เม็กซิโก

  • พัฒนาและดำเนินการกลไก crediting ของการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (Crediting NAMAs) สำหรับภาคครัวเรือนเครื่องใช้ไฟฟ้า และการขนส่งในเขตเมือง
  • สร้างระบบทะเบียน และระบบติดตามการลดก๊าซเรือนกระจก

โมร็อคโค
โมร๊อคโค

  • นำร่องกลไกตลาดในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1) การผลิตไฟฟ้า 2) ปูนซีเมนต์ และ 3) การสกัดฟอสเฟต และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของตลาดคาร์บอน ซึ่งประกอบด้วยระบบทะเบียนก๊าซเรือนกระจก และกรอบการตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบ (MRV) ; สำรวจการทำงานร่วมกันกับตลาดต่างประเทศ
  • สำรวจความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงกับตลาดต่างประเทศ

ไทย
ไทย

  • ออกแบบแผนการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ฐานข้อมูล และระบบการตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบ (MRV)
  • ศึกษากรอบโครงสร้างทางด้านกฎหมายสำหรับระบบซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ETS)
  • เตรียมการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำของเทศบาลและชุมชุน และความพร้อมในเรื่องของกองทุน LCC

ยูเครน
ยูเครน

  • ออกแบบระบบการตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบ (MRV) ในระดับ installation สำหรับภาคพลังงาน
  • ออกแบบและวางแผนการดำเนินงานระบบซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ETS)

เวียดนาม
เวียดนาม

  • ออกแบบและดำเนินการนำร่องการใช้เครื่องมือทางการตลาดในอุตสาหกรรมเหล็ก และการจัดการของเสีย
  • พัฒนาระบบทะเบียนก๊าซเรือนกระจก และระบบ MRV

ศรีลังกา
  • พัฒนาระบบการตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบ (MRV) และระบบทะเบียนของประเทศ โดยจัดตั้งสถาบันและสร้างขีดความสามารถในการกำกับดูแล
  • เสริมสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพโครงการเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตภายในประเทศ

1402912847 ar

อาร์เจนตินา

  • สำรวจข้อมูลทางด้านนโยบายในการลดการปล๊อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อตอบสนอง NDC (Nationally Determined Contribution) เช่น การประเมินการซื้อขายใบรับรองการใช้พลังงานทดแทนและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมทั้งดำเนินการกำหนดขอบเขตของแนวทาง RBF (Results-based climate finance schemes)

Download เอกสาร PMR ที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลด PMR

  ข้อเสนอโครงการของประเทศไทย 

  เอกสารด้านวิชาการและเทคนิคที่มีการพัฒนาภายใต้โครงการ PMR (Technical Note) 

  คาร์บอนเครดิตและส่วนเพิ่มเติม (CARBON CREDITS AND ADDITIONALITY)
  การรั่วไหลของคาร์บอน (CARBON LEAKAGE : THEORY, EVIDENCE AND POLICY DESIGN)
  ทางเลือกในการใช้กิจกรรมชดเชยคาร์บอนที่มีอยู่ในระดับนานาชาติสำหรับบริบทภายในประเทศ
  กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ CREDITING ภายใต้โครงการ PMR
  แนวทางการออกแบบการรายงานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกภาคบังคับ
  ภาพรวมกลไก CREDITING (CREDITING MECHANISM OVERVIEW)
  ระบบการซื้อขายใบอนุญาตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ (DOMESTIC EMISSION TRADING SCHEME: ETS)
  ข้อควรรู้ในการกำหนด BASELINE (THE NUTS AND BOLTS OF BASELINE SETTING)
  ทางเลือกและข้อแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนา BASELINE
  การสนับสนุนการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยระบบการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
  ภาพรวมของกิจกรรมชดเชยคาร์บอน
  บทเรียนที่ได้จากการเชื่อมโยงระบบซื้อขายใบอนุญาตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  การสำรวจระบบ MRV สำหรับการนำร่องระบบการซื้อขายใบอนุญาตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศจีน
  การเตรียมการสำหรับการกำหนดราคาคาร์บอน


  เอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 


  โบรชัวร์ "กลไกเพื่อส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจก"
  ตลาดคาร์บอนในประเทศจีน (CHINA CARBON MARKET ISSUE #2)


  การสัมมนาทางเว็บไซต์ (Webinar) 


  การรั่วไหลของคาร์บอน (CARBON LEAKAGE : THEORY, EVIDENCE AND POLICY DESIGN) ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 และ 3 ธันวาคม 2558
  แนวทางการออกแบบการรายงานผลก๊าซเรือนกระจกภาคบังคับ (GUIDE FOR DESIGNING MANDATORY GREENHOUSE GAS REPORTING PROGRAMS) ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2015

   ก
ารดำเนินงานของประเทศไทย 

  CS-14
  CS-13
  CS-12
  CS-9
  CS-8
  CS-7
  CS-5

  อื่นๆ 

  แนะนำโครงการกลไกเพื่อส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ โดย รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล
  แนะนำโครงการกลไกเพื่อส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ โดย ผศ.ดร.กนกศักดิ์ เอี่ยมโอภาส
  แนะนำโครงการกลไกเพื่อส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจก โดยคุณกมล ตันพิพัฒน์
  แนะนำโครงการกลไกเพื่อส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจก โดย ผศ.วงกต วงศ์อภัย
  กลไกตลาดกับการลดก๊าซเรือนกระจก โดย ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์
  กิจกรรมและการขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ โดย ดร.อมรวรรณ เรศานนท์
  กิจกรรมและการขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ โดย คุณสุมน สุเมธเชิงปรัชญา
  กิจกรรมและการขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ โดย คุณธารี กาเมือง
  กิจกรรมและการขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ โดย คุณวิชัย พรกระแส
  กิจกรรมและการขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ โดยคุณวราภรณ์ หิรัญวัฒน์ศิริ
  กิจกรรมและการขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ โดย คุณชุติมา จงภักดี
  นโยบายของประเทศและแนวทางการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ โดย คุณลดาวัลย์ คำภา
  การฝึกอบรม “แนวทางการกำหนดค่าดัชนีชี้วัดการใช้พลังงาน (SEC)